ศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรมการอบรมสมโภชพระพุทธรูป ฉบับวัดแสนฝาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระสิฏฐวัชญ์ ปญฺญาวฑฺฒโก (พวงเรือนแก้ว) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • โผน นามณี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

พิธีกรรม, อบรมสมโภชพระพุทธรูป, วัดแสนฝาง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมการอบรมสมโภชพระพุทธรูป ฉบับวัดแสนฝาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมการอบรมสมโภชพระพุทธรูป ฉบับวัดแสนฝาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าพิธีกรรมการอบรมสมโภชพระพุทธรูป ฉบับวัดแสนฝาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ และศึกษาจากข้อมูลเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) พิธีกรรมการอบรมสมโภชพระพุทธรูป ฉบับวัดแสนฝาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพิธีกรรมที่ว่าด้วยการสร้างและอบรมสมโภชพระพุทธรูปและเจดีย์ใหม่ มีการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในพิธีกรรม แสดงหลักธรรม เรื่องราวของพระพุทธเจ้า และใช้บทโวหาร กล่าวถึงจุดประสงค์ของพิธีกรรมเพื่ออัญเชิญความศักดิ์สิทธิ์เข้าสู่องค์พระพุทธรูป 2) พิธีกรรมการอบรมสมโภชพระพุทธรูป ฉบับนี้ มีลักษณะการใช้รูปแบบเชิงสัญลักษณ์ในการสื่อความหมายของหลักธรรมผ่านพิธีกรรม เครื่องประกอบพิธี เทียนอบรมสมโภชพระพุทธรูป และบทสังวัธยาย เพื่อแสดงถึงพุทธภาวะ เป็นการสถาปนาสู่พระพุทธรูป 3) คุณค่าของพิธีกรรมที่ปรากฎ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านคุณค่าเชิงพุทธศิลป์ เป็นการถ่ายทอดความคิดและสภาวะสังคมท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาผ่านศิลปวัตถุ เพื่อเป็นนัยเชื่อมโยงถึงองค์พระพุทธเจ้า ด้านคุณค่าเชิงพิธีกรรม ทำให้บุคคลเกิดความปีติ ยังจิตให้ผ่องใส มีความศรัทธาตั้งมั่น ในพระพุทธเจ้าและพุทธศาสนา ด้านคุณค่าเชิงการสืบทอดพระพุทธศาสนา ทำให้ผู้เข้าร่วมพิธีกรรมเข้าถึงหลักธรรมสามารถนำมาปฏิบัติที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต เป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างคุณงามความดี และบรรลุสู่ความสงบสุข ตามหลักทางพระพุทธศาสนา

References

เกรียงไกร เกิดศิริและคณะฯ. (2550). ปงสนุก : คนตัวเล็กกับการอนุรักษ์. กรุงเทพมหานคร: อุษาคเนย์.

พระครูสิริสุตาภิมณฑ์ (ศุภชัย คำปัน). (2545). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมที่ใช้ในพิธีพุทธา ภิเษกแบบล้านนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาภาษาและวรรณกรรมล้านนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระมหาสมเจต สมจารี. (2561). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดพุทธภาวะในพุทธปรัชญา. สารนิพนธ์ปริญญา พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต. สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิรพงศ์ ศักดิ์สิทธิ์. (2554). คติการสร้างพระพุทธรูปไม้ในล้านนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์: บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2535). พุทธประวัติจากพระโอษฐ์. กรุงเทพมหานคร: การพิมพ์พระนคร.พระสาธุเจ้าสยาม

สิริปญฺโญ. (2559). อริยะประเพณีล้านนา. แพร่: ม.ป.ท.

พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2559). คติการสร้างพระพุทธรูปในล้านนาจากเอกสารโบราณ. เอกสารประกอบการบรรยาย ในการสัมมนา โครงการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ห้องราชาวดี โรงแรมคุ้มภูคำ เชียงใหม่. (เอกสารสำเนา).

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่มที่ 8 : ปางหมู, วัด-พระธาตุ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

สมิทธ์ สระอุบล. (2534). มานุษยวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์. (2531). โบราณคดี. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักราชเลขาธิการ.

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2558). พระพุทธรูปตามคติชาวล้านนา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรชัย เงาฉัตร. (2559). บ้านหนองสี่แจ่ง ตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 5 มกราคม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28