การบริหารจัดการปัจจัย 4 ตามหลักพุทธปรัชญา ของภิกษุสามเณร วัดจองคำ พระอารามหลวง ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • พระมหาสมยศ ยสสฺสี (ดาทอง) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ทรงศักดิ์ พรมดี
  • อุเทน ลาพิงค์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ปัจจัย 4, วัดจองคำ พระอารามหลวง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการปัจจัย 4 ตามหลักพุทธปรัชญา ของภิกษุสามเณรในวัด 2) เพื่อศึกษาปัญหาในการบริหารจัดการปัจจัย 4 ตามหลักพุทธปรัชญา ของภิกษุสามเณรในวัด 3) เพื่อเสนอแนวทางในการบริหารจัดการปัจจัย 4 ตามหลักพุทธปรัชญา ของภิกษุสามเณรในวัดจองคำ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ภิกษุสามเณร ในวัดจองคำ พระอารามหลวง ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง จำนวน 27 รูป เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก

ผลการวิจัยพบว่า: 1) การบริหารจัดการปัจจัย 4 พบว่า มีการจัดถวายจีวรเครื่องนุ่งห่มปีละ 3 ครั้ง, อาหารบิณฑบาต  มีการจัดตั้งโรงครัวภายในวัด เสนาสนะมีการล้อมกำแพงทั้งบริเวณ ในแต่ละอาคารจะมีกล้องวงจรปิดทุกที่ ภิกษุสามเณรอยู่รวมกันที่อาคารเดียวกันทั้งหมด เภสัชหรือระบบสาธารณสุขนั้น หากภิกษุสามเณร ไม่สบาย ทางวัดมีภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่ดูแล มีรถรับส่งไปโรงพยาบาล แต่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสทุกครั้ง 2) ปัญหาในการบริหารจัดการปัจจัย 4 พบว่า สามเณรไม่รักษาเครื่องนุ่งห่ม ยังไม่เคยมีนักวิชาการด้านโภชนาการมาให้คำแนะนำหรืออบรมแม่ครัวเกี่ยวกับเรื่องคุณค่าด้านโภชนาหาร เสนาสนะ มีการปลูกต้นไม้ใกล้กุฏิจนเกินไปทำให้กิ่งไม้หักใส่หลังคา บริเวณวัดมีสุนัขมากเกินไป ในด้านเภสัชหรือระบบสาธารณสุขนั้น ภิกษุที่เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลยังไม่มีความรู้มากพอในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและในการจ่ายยาให้กับภิกษุสามเณร 3) แนวทางในการบริหารจัดการปัจจัย 4 พบว่า ควรมีโครงการไปศึกษาดูงานตามวัดต่าง ๆ เพื่อหาข้อมูลเปรียบเทียบแล้วนำไปพัฒนาการบริหารจัดการปัจจัย 4 ภายในวัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจะก่อให้เกิดผล คือภิกษุสามเณรได้รับการแบ่งปัน แจกจ่ายอย่างทั่วถึงเสมอภาค เป็นธรรม ภิกษุสามเณรได้อาศัยการบริหารแจกจ่ายที่เป็นธรรมทั่วถึงนี้อยู่กันอย่างผาสุก คือการได้อาศัยปัจจัย 4 ที่เป็นสัปปายะ เรียนรู้พัฒนาตนเองเข้าถึงธรรมในระดับที่สูงขึ้นไป

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบุญกอง คุณาธโร และคณะ. (2545). ฉลองปริญญาบัตร พัดยศ และเปรียญธรรม 9 ประโยค วัดจองคำ ต.บ้านหวด อ.งาว จ.ลำปาง. ลำปาง : จิตวัฒนาการพิมพ์.

บุญช่วย จันทร์เฮ้า. (2544). พฤติกรรมการบริหารของเจ้าอาวาสที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ คณะจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระมหาวิเศษ ปญฺาวชิโร. (2550). การบวชเรียนมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทยภูเขา โรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยญาณสังวร : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2539). พระพุทธศาสนากับสังคมและการเมือง. กรุงเทพมหานคร :บริษัทต้นอ้อ แกรมมี่ จำกัด.

พระอกนิษฐ์ สิริปญฺโ (อาจวิชัย). (2555). การบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไทยโพสต์. แพทย์แผนไทยประยุกต์. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2564, 21.39 น, จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30588.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26