แนวทางการนำหลักอธิษฐานธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต ของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเวียง ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระครูเกษมสีลสัมบัน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ทรงศักดิ์ พรมดี
  • พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม

คำสำคัญ:

หลักอธิษฐานธรรม, นักเรียนผู้สูงอายุ, โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเวียง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการนำหลักอธิษฐานธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต 2) เพื่อศึกษาปัญหาการนำหลักอธิษฐานธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการนำหลักอธิษฐานธรรมสู่การดำเนินชีวิต เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของการเขียนเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า: 1) การนำหลักอธิษฐานธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิตพบว่า เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างเป็นระบบด้วยปัญญาของปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการสร้างองค์ความรู้ สร้างอาชีพ ผู้สูงอายุทำตนเป็นที่น่าเคารพนับถือมีความจริงใจไม่ยึดมั่นถือมั่นในวัยของตนพร้อมรู้จักปล่อยวาง รู้จักใช้วัตถุอามิสและบุญทานอย่างมีระบบด้วยการยินดีเข้าวัดสู่การปฏิบัติธรรม 2) ปัญหาการนำหลักอธิษฐานธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิตพบว่ามีปัจจัยหลาย ๆ ด้านประกอบกัน ได้แก่ วัยวุฒิ คุณวุฒิ สถานภาพความเป็นอยู่และสถานภาพทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุก่อเกิดความยึดมั่นถือมั่น ไม่ยอมรับความจริงของกาลเวลา สังขารและความรู้ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ค่อยจะปล่อยวางกับชีวิตเกิดความกังวล 3) แนวทางการนำหลักอธิษฐานธรรมสู่การดำเนินชีวิตพบว่าการนำหลักภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่องค์ความรู้เพิ่มปัญญา ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุลดความยึดมั่นถือมั่นเข้าใจหลักความเป็นจริงของสัจจะธรรมทำตนให้เป็นที่น่านับถือ รู้จักปล่อยวางสร้างหลักประกันของตนให้มากที่สุดด้วยการเข้าวัดปฏิบัติธรรมมุ่งสู่วัยข่มใจ วัยวิเวก วัยเหงาตลอดถึงเข้าสู่วัยที่ห่างโรคซึมเศร้า

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. ( 2550). พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ตอน ว่าด้วยพระสูตร. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ ฉบับที่ 6. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

จันทนา สารแสง และสิวลี รัตนปัญญา. การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลทุ่งข้าวพวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ. 19(2), 128.

จิรวรรณ ดีประเสริฐ และจิรวุฒิ หลอมประโคน. (2556). รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการซื้อสิ้นค้าฟุ่มเฟือยของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. นนทบุรี : ม.ป.พ.,

จุฑารัตน์ แสงทอง. สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารรูสมิแล. 38(1), 16.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพมหานคร : ผลิธัมม์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ (สทส.). (2553). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

อารุณ สิทธิวงศ์ และคนอื่นๆ. (2562). เคล็ดลับพุทธวิธีภาวะของผู้นำกับการบริหารงานในพระพุทธศาสนา. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 12(1), 109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27