วิเคราะห์ระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทย : ปัญหาเชิงพุทธจริยศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย วงศ์ปริยากร มหาวิทยาลัยมหามกถฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อุเทน ลาพิงค์
  • พระมหาวิเศษ ปญฺญาวชิโร

คำสำคัญ:

พุทธจริยศาสตร์, ระบบอุปถัมภ์, ระบบราชการไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาแนวคิดระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทย 2) ศึกษาแนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ 3) วิเคราะห์ปัญหาพุทธจริยศาสตร์ ในระบบอุปถัมภ์ของระบบราชการไทย เป็นการวิจัยเชิงเอกสารแล้ววิเคราะห์ประมวลผลเนื้อหาว่าระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยเป็นปัญหาเชิงพุทธจริยศาสตร์หรือไม่อย่างไร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์พรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยมีลักษณะการกระทำในสองลักษณะคือการกระทำที่เอื้อประโยชน์กันโดยชอบด้วยกฎหมายและการประทำที่เอื้อประโยชน์กันโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 2) แนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ ถือหลักการว่าการจะตัดสินการกระทำใดเป็นสิ่งดีหรือไม่ดีใช้การกระทำหรือกรรมเป็นเครื่องชี้วัด และการกระทำที่จะถือว่าเป็นกรรมได้นั้นจักต้องเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงสภาพของจิตใจของผู้กระทำ สำนึกมโนธรรม หลักความสันโดษ ความยอมรับของวิญญูชนหรือนักปราชญ์ ผลของการกระทำ และหลักของการล่วงละเมิดหลักการแห่งบทบัญญัติศีล 3) เมื่อวิเคราะห์ปัญหาพุทธจริยศาสตร์ ในระบบอุปถัมภ์ของระบบราชการไทยโดยใช้หลักมูลเหตุอันเป็นการส่อถึงเจตนาที่เป็นกุศลมูลหรืออกุศลมูล หลักความสันโดษ หลักมโนธรรมสำนึก หลักการฟังความเห็นหรือพิจารณาความยอมรับของวิญญูชนหรือนักปราชญ์ และหลักพิจารณาลักษณะและผลของการกระทำหรือดูผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำในลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายหรือลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งสองลักษณะนี้เป็นสิ่งที่พุทธศาสนา ไม่ยอมรับ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เมื่อพิจารณาตามสภาวะว่าเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ หรือไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ การกระทำในลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย ยังไม่สามารถตัดสินได้ว่าเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ หรือไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ ส่วนการกระทำลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ เมื่อใช้หลักของการล่วงละเมิดหลักการแห่งบทบัญญัติของศีลในระดับโลกิยะธรรมคือ ศีล 5 พบว่าไม่ล่วงละเมิดศีล  ข้อที่ 1 ข้อที่ 2 ข้อที่ 3 อาจละเมิดศีลข้อที่ 4 และไม่ละเมิดศีลข้อที่ 5

References

ชัชชัย คุ้มทวีพร. (2541). ทฤษฎีการวิเคราะห์ปัญหาจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เจนเดอร์เพรส.

ธงชัย ทรงประศาสน์. (2505). ระบบอุปถัมภ์กับระบบคุณความดี : ร่วมฉลองวันประสูติครบรอบร้อยปีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมกระยาดำรงราชานุภาพ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. 3 (1), 86-108.

พระมหาสมพล กลิ่นเพ็ชร์.(2550). เจตนาในพุทธจริยศาสตร์เถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญา.ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ วันจันทร์).(2559). จริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2559). การแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยให้เป็นรูปธรรม. กรุงเทพเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ.

สุเชาวน์ พลอยชุม. (2537). จริยศาสตร์แนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26