วิเคราะห์แนวทางการอนุรักษ์พระพุทธรูปหยกในล้านนา

ผู้แต่ง

  • อรชร เรือนคำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เทพประวิณ จันทร์แรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การอนุรักษ์, การสืบทอด, พระพุทธรูปหยก, ล้านนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการการสร้างพระพุทธรูปในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาคติการสร้างพระพุทธรูปหยกในล้านนา 3) เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์พระพุทธรูปหยกในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติและพัฒนาการการสร้างพระพุทธรูปเป็นการสร้างเพื่อเป็นสัญลักษณ์และสิ่งสักการะบูชาในพระพุทธศาสนาหรือเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า การสร้างพระพุทธรูปเริ่มต้นเมื่อชนชาติกรีกเข้ามาสู่อินเดีย นิยมสร้างพระพุทธรูปหรือพระปฏิมาให้มีรูปทรงตามมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ   หลังจากนั้นได้มีการประยุกต์เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น  2) คติการสร้างพระพุทธรูปหยกในล้านนา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนน้อมบูชาพระพุทธรูปหยกซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในท้องถิ่นที่พระพุทธรูปหยกประดิษฐาน และอีกประการหนึ่งเป็นการแสดงถึงศรัทธาตามแนวทางพระพุทธศาสนาคือ กัมมศรัทธา วิปากศรัทธา กัมมัสสกตาศรัทธา ตถาคตโพธิศรัทธา คตินี้เป็นแนวคิดและมรดกทางภูมิปัญญาของล้านนา 3) แนวทางการอนุรักษ์พระพุทธรูปหยกล้านนา ได้แก่ 1) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ถึงคุณค่าและอานิสงส์ของการบูชาพระพุทธรูปหยกล้านนาผ่านสื่อต่าง ๆ 2) จัดสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหยกล้านนาที่เหมาะสม 3) จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้ผู้คนเห็นความสำคัญ  รับทราบถึงคุณค่า และอานิสงส์ของการบูชาพระพุทธรูปหยกล้านนา 4) การสร้างเครือข่ายทางวิชาการเกี่ยวกับพระพุทธรูปหยกล้านนา  คุณค่าของการอนุรักษ์พระพุทธรูปหยกล้านนาประกอบด้วยคุณค่าด้านศิลปะ ด้านประเพณี ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ

References

กิตติกรณ์ บำรุงบุญ. (2561). แนวทางการอนุรักษ์พุทธประติมากรรมทวารวดี. รายงานการวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กิติยา อุทวิ. (2550). ความเชื่อและคุณค่าของการสร้างพระพุทธปฏิมาสำริดในล้านนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูใบฎีกาศักดิ์ดนัย สนฺตจิตฺโต (เนตรพระ). (2563). การอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุ ทางพระพุทธศาสนา ของวัดในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก.

พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ. (2558). กำเนิดและพัฒนาการแห่งพระพุทธรูป. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.mcu.ac.th/article/detail/502.

พรศิลป์ รัตนชูเดช. (2551). ศึกษาเรื่องการสร้างพระพุทธรูปดินเหนียวในเชิงประวัติศาสตร์.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่. (2538). สมโภช 600 ปีพระธาตุเจดีย์หลวง. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.

ประพันธ์ กุลวินิจฉัย. (2555). วิเคราะห์เรื่องพระพุทธรูปในฐานะปูชนียวัตถุของชาวพุทธ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2563). พระพุทธรูป. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2564. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/พระพุทธรูป.

ศักดิ์ รัตนชัย. (2516). “ประวัติพระแก้วดอนเต้า” หนังสือแนะนำนครลำปาง ฉบับอนุสรณ์การแข่งขันกีฬาเขต 5 พ.ศ. 2516. ลำปาง: ม.ป.พ.

สายันต์ ไพรชาญจิตร. (2545). การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีการทำบุญด้วยการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดน่าน. รายงานการวิจัย. คณะสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

แสง มนวิทูร. แปล. (2550). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพมหานคร : รำไทยเพรส.

สุรพล ดำริห์กุล. (2539). แผ่นดินล้านนา. กรุงเทพมหานคร : เมืองโบราณ.

สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน. (2551). วัดพระธาตุลำปางหลวง บูรณะระเบียงคด กุฏิพระแก้วและหอไตร. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26