ศึกษาวิเคราะห์การตลาดวิถีธรรม ของชุมชนภูผาฟ้าน้ำแม่เลา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เพลินพิศ สังข์บุญลือ -
  • เทพประวิณ จันทร์แรง
  • ผุสดี เจริญไวยเจตน์

คำสำคัญ:

ตลาดวิถีธรรม, การพัฒนาคน, ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการตลาดในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการตลาดวิถีธรรม แม่เลา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์การตลาดวิถีธรรม ของชุมชนภูผาฟ้าน้ำแม่เลา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ แบบการวิจัยเอกสาร ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตแบบมีส่วนร่วม

ผลการวิจัยพบว่า 1) ในสมัยพุทธกาลนั้น การค้าขายอาศัยความซื่อสัตย์ ต้องการอะไรก็เอาสินค้าที่ตนมีไปแลกเปลี่ยนกัน การค้าขายต่างเมืองก็ไปเป็นกองคาราวาน สินค้าส่วนใหญ่เป็นไปตามวรรณะที่เกิด ตระกูลไหนถนัดทำอะไรก็จะทำไม่ซ้ำกัน เมื่อค้าขายกลับมามีกำไรก็ตั้งโรงบุญโรงทานมากมายเป็นการบ่งบอกฐานะและกำไรที่ได้จากการเดินทางไปค้าขาย 2) ตลาดวิถีธรรมเป็นตลาดทางเลือก เน้นพัฒนาคนให้มีศีล มีสัมมาทิฏฐิ การแบ่งปัน ทำงานฟรี เริ่มจากจุดเล็กๆ เป้าหมายเพื่อช่วยมนุษย์ชาติ ไม่ได้หวังกำไร ใช้ระบบการค้าบุญนิยม 4 ระดับ คือ 1) ขายต่ำกว่าราคาท้องตลาด 2) ขายราคาเท่าทุน 3) ขายในราคาขาดทุน และ 4) แจกฟรี  3) เมื่อนำส่วนประสมทางการตลาด 7Ps มาวิเคราะห์ตลาดวิถีธรรมของชุมชนภูผาฟ้าน้ำ พบว่าทุกองค์ประกอบนั้นมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ ซึ่งเกิดจากบุคคลที่มีอุดมการณ์ ขัดเกลาตนเอง กินน้อยใช้น้อย ฝึกฝนการพึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์ เสียสละเป็นบุญ ปัจจัยสนับสนุนการจัดทำตลาดวิถีธรรม ของชุมชนภูผาฟ้าน้ำ คือการพัฒนาคน หรือการพัฒนาจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม ให้เป็นผู้พึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์

References

ใจเพชร กล้าจน. (2555). คนพอเพียง. พิมพ์ครั้งแรก. สมุทรสาคร: สำนักพิมพ์ พิมพ์ดี จำกัด.

ใจเพชร กล้าจน. (2558). จิตอาสาแพทย์วิถีพุทธเพื่อมวลมนุษยชาติ. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค (สาธารณสุขชุมชน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

เดวิด ลอย. (2547) ตลาด ลัทธิใหม่ของศาสนา. แปลและเรียบเรียงโดย พระชัยยศ ยโสธโร. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) (4 ธันวาคม 2534).

พระราชดำรัส. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://ka.mahidol.ac.th/king_9/sufficiency-economy.html [8 กุมภาพันธ์ 2566].

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539) พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุชาติ บุษย์ชญานนท์. (2563). การประยุกต์หลักพุทธธรรม ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจยุคบริโภคนิยม. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 7 (2), 64-65.

สมชาย เบ็ญจวรรณ์. (2562). แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจตามหลักพุทธจริยศาสตร์. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 25(1), 1-14.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2556). คู่มือชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

อภิชัย พันธเสน. (2544). พุทธเศรษฐศาสตร์ วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่างๆ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.

Kotler, P. (2004). Ten deadly marketing sins: signs and solutions. John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29