การพัฒนาธรรมวิทยากรต้นแบบเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในชีวิต เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายของเยาวชน จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ธรรมวิทยากรต้นแบบ, แรงบันดาลใจในชีวิต, การฆ่าตัวตายบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการฆ่าตัวตายของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการสร้างแรงบันดาลใจในชีวิตเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายของเยาวชน 3) เพื่อพัฒนาธรรมวิทยากรต้นแบบเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในชีวิตเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายของเยาวชน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (1) เยาวชนจากสถาบันการศึกษา 4 แห่ง และ (2) ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยการฆ่าตัวตายของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่ เกิดจากสาเหตุ 6 ประการ คือ (1) ด้านสุขภาพส่วนตัว (2) ปัจจัยด้านครอบครัว (3) ปัจจัยด้านการเรียน (4) ปัจจัยด้านเพื่อน (5) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และ (6) ปัจจัยด้านสื่อ
2) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ (1) หลักการ (2) จุดมุ่งหมาย (3) เนื้อหาสาระ (4) การจัดการเรียนรู้ (5) กลไกและกระบวนการ และ (6) การวัดและประเมินผล ซึ่งภาพรวมของหลักสูตรมีประโยชน์ในระดับมาก ( x =3.73) สูงกว่าความเหมาะสม ( x =3.68) ผู้เข้าอบรมมีแรงบันดาลใจก่อนการอบรม ( x =47.18) น้อยกว่ากว่าหลังการอบรม (x =56.38) และผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในระดับมาก (x =3.74) แสดงให้เห็นว่า หลักสูตรมีการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของเยาวชนสำหรับสร้างแรงบันดาลใจในชีวิตเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
3) การพัฒนาธรรมวิทยากรต้นแบบเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในชีวิตสำหรับป้องกันการฆ่าตัวตายของเยาวชน มีแนวทางนำไปสู่การพัฒนา 4 ประเด็น คือ (1) การพัฒนาหลักการและอุดมการณ์ของการเป็นธรรมวิทยากรต้นแบบ (2) การพัฒนาวิธีการของการเป็นธรรมวิทยากรต้นแบบ (3) การพัฒนาคุณสมบัติและคุณลักษณะของการเป็นธรรมวิทยากรต้นแบบ และ (4) การพัฒนาตัวชี้วัดของการเป็นธรรมวิทยากรต้นแบบ
References
กรมสุขภาพจิต. กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต. เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/download/Ebooks/Annual_report_2018.pdf (สืบค้นวันที่ 15 ตุลาคม 2564).
กรมสุขภาพจิต. กระทรวงสาธารณสุข. (2563). อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อประชากรแสนคน. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp (สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม 2564).
เชียงใหม่นิวส์ ออนไลน์. (2563). ฆ่าตัวตายพุ่ง แจงช่วงโควิด สาเหตุหลายปม เชียงใหม่นำโด่ง. เข้าถึงได้จาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1339558/ (สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม 2564).
บริษัท แอมวิช ยูนิเทค จำกัด. (2562). 5 ประโยชน์ของการสวดมนต์ ทำสมาธิ วิธีบริหารจิต บำบัดกาย. เข้าถึงได้จาก https://amwishunitech.com/news-detail.php?id=146 &category=2 (สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม 2565).
ประเวศ วะสี. (2551). หนังสือรวบรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปี 2551 เรื่องจิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระครูสิริรัตนานุวัตร. (2562). พุทธจิตวิทยาบูรณาการ : รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคมตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 5(1), 79-89.
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท และ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2563). รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7(ฉบับเพิ่มเติม), 253-265.
พระมหาจักรพล สิริธโร. (2563). การเผยแผ่พุทธศาสนา ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 11(1), 80-90.
พระมหาอินทร์วงค์ อิสฺสรภาณี พระครูไพศาล ธรรมานุสิฐ และจันทรัสมิ์ ตาปูลิง. (2562). การศึกษากระบวนการป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2). 15-25.
โรงพยาบาลกรุงเทพ. ปรับระบบความคิด ลดวิกฤติการฆ่าตัวตาย. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www. bangkokhospital.com/content/attitude-adjustment-for-suicide-prevention (สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม 2564).
วิมลวรรณ ปัญญาว่อง. รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล. (2563). ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตายในวัยรุ่นไทย: การสำรวจโรงเรียนใน 13 เขตสุขภาพ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 28(2).136-146.
สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี. (2554). สมาธิบำบัดแบบ SKT รักษาสารพัดโรคได้ด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร : ปัญญาชน.
สุพัตรา สุขาวห. (2560). ปัจจัยเสี่ยงและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 62(4): 359-378.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าปีงบประมาณ 2564 เดือน ตุลาคม 2563. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.thaidepression.com/ www/report/main_report/pdf/ahb-10-20_mix_HDC.pdf (สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม 2564).
องค์อร ประจันเขตต์. (2557). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง : มุมมองในการศึกษาทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(3): 179-183.
อรพิน ยอดกลาง และคณะ. (2563). การป้องกันและลดปัญหาการฆ่าตัวตายในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์.
John Galen Saylor, William Marvin Alexander. (1974). Planning Curriculum for Schools. New York : Holt, Rinehart and Winston.
Oliva, P.F. (1988). Developing the curriculum. (2nd ed.). Glenview. ILLinois: Scott, Foresman.
Wiessner, C., & Mezirow, J. ( 2000). Theory building and the search for common ground. In J. Mezirow and Associates (Eds.). Learning as transformation. Critical perspectives on a theory in progress San Francisc
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.