ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการงานอนุมัติผลการศึกษา สำนักส่งเสริมวิชาการ และงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล สันทาลุนัย สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: ความพึงพอใจ, การให้บริการ, อนุมัติผลการศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาในการให้บริการงานอนุมัติผลการศึกษา สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาในการให้บริการงานอนุมัติผลการศึกษา สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำแนกตาม เพศ และคณะ ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 334 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายตามสูตรการคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที ซึ่งใช้กับกลุ่มที่มีตัวแปรสองกลุ่ม และ การทดสอบแบบเอฟ ซึ่งใช้กับกลุ่มที่มีตัวแปรมากกว่าสองกลุ่มขึ้นไป

ผลการวิจัยพบว่า  1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ความพึงพอใจที่ได้รับบริการจากงานอนุมัติผลการศึกษาในทุกด้านพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
gif.latex?\inline&space;\chi= 4.58 ; S.D. = 0.41)  ด้านที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ
(gif.latex?\inline&space;\chi= 4.64 ; S.D. = 0.42) รองลงมาคือด้านคุณภาพการให้บริการ (gif.latex?\inline&space;\chi= 4.59 ; S.D. = 0.41) และด้านขั้นตอนการให้บริการ (gif.latex?\inline&space;\chi= 4.50 ; S.D. = 0.57)  2) เปรียบเทียบความพึงพอใจที่ได้รับบริการจากงานอนุมัติผลการศึกษา จำแนกตามเพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เพศชายมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด   ( gif.latex?\inline&space;\chi= 4.71  ; S.D.
= 0.38) เพศหญิงมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\inline&space;\chi= 4.60 ; S.D. = 0.44) และเปรียบเทียบความพึงพอใจได้รับบริการจากงานอนุมัติผลการศึกษาจำแนกตามสังกัดคณะของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

ณัฐพล สันทาลุนัย. (2562). กระบวนการจัดทำข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาและการขออนุมัติผลการสำเร็จการศึกษา. คู่มือปฏิบัติงานหลัก สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

น้ำลิน เทียมแก้ว . (2561). รายงานการวิจัยการศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2560. มหาสารคาม : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2543). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ผ่องพรรณ ทิพย์ประเสริฐและคณะ. (2553). ความพึงพอใจของผู้รับบริการงานทะเบียนและวัดผล. เชียงราย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.

วันเพ็ญ ศรีมะโรง และสุมัทนา รัตนกุล. (2557). รายงานการวิจัยความพึงพอใจในการบริการของงานอนุมัติผลการศึกษา. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สมหมาย เปียถนอม. (2551). รายงานการวิจัยความพึงพอใจของนักศึกษาในการได้รับการบริการ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

อารยา นิราศภัย. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาในการใช้บริการสำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสยาม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ.มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยสยาม.

อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : ใยไหม.

Yamane, Taro. (1973). Statistics an introduction Analysis. 2nd ed. New York :

Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26