วิวัฒนาการความเป็นมาของลายไทย

ผู้แต่ง

  • ขจรเดช หนิ้วหยิ่น วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ทรงเดช ทิพย์ทอง วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • มานิตย์ กันทะสัก วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • กาญจนา ชลศิริ วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ลายไทย, ศิลปะไทย, ช่างสิบหมู่, ศิลปวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

ลายไทย เป็นลวดลายที่มีวิวัฒนาการ คลี่คลาย พัฒนารูปแบบมาโดยตลอดแต่สมัยโบราณ หากนับลวดลายใน แผ่นดินไทยที่ค้นพบ จะเรียงลำดับยุคสมัยต่าง ๆ ได้ดังนี้ คือ ทวาราวดี ลพบุรี สุโขทัย เชียงแสน อู่ทอง อยุธยา รัตนโกสินทร์ และศิลปะไทยปัจจุบัน เป็นต้น ลวดลายต่าง ๆ ที่พบมักเริ่มมาจากการเลียนแบบลักษณะของธรรมชาติ เช่น ลายเครือเถา ลายดอกไม้ ลายพืชพรรณต่าง ๆ รวมถึงสัตว์นา ๆ ชนิด ล้วนแล้วเป็นแม่แบบให้กับช่างไทยในสมัยก่อนได้ ลอกเลียนแบบธรรมชาติ ทั้งนี้ช่างยังได้ประยุกต์ลายแต่ละรูปแบบให้เกิดความงาม โดยการผสมกับความคิดจินตนาการ ส่วนตัวเข้าร่วมด้วย จึงทำให้เกิดเป็นลวดลายอันมีอัตลักษณ์ของแต่ละยุคสมัย ลายไทยสามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
1) กลุ่มลายเลียนแบบธรรมชาติโดยตรง คือ ทวารวดี ลพบุรี 2) กลุ่มลาย เลียนแบบธรรมชาติแต่มีการประยุกต์ คือ สุโขทัย เชียงแสน อู่ทอง 3) กลุ่มลายประยุกต์คลี่คลายจากธรรมชาติ คือ อยุธยา รัตนโกสินทร์ตอนต้น 4) กลุ่มลายคลี่คลายสร้างสรรค์เป็นอัตลักษณ์เฉพาะตน คือ รัตนโกสินทร์ตอนปลาย ศิลปะไทย ปัจจุบัน ลวดลายที่ปรากฏขึ้นในแต่ละยุคสมัยมีการเลียนแบบหยิบยืมซึ่งกันมาโดยตลอด ลวดลายบางยุคสมัยยังมีความ คล้ายคลึงกัน อาจแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยที่ จังหวะ ลีลา หรือสัดส่วน

References

กรมศิลปากร. (2548). วิทยาลัยช่างศิลป์ สถาบัณบัณฑิตพัฒนศิลป์. เรื่อง ลายรดน้ำกับพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร.

คุยกับงานช่างไทยโบราณ. (2555). ศาสตราจารย์เกียตรติคุณ ดร.สันติเล็กสุขุม. กรุงเทพมหานคร : เมืองโบราณ.

นุชจรีย์ เมืองแตง. (2562). สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศิลปะลายไทย วาดภาพลายไทยพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2566,/ จากเว็บไซต์ : https://www.lib.ru.ac.th/ journal2/?p=12009

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. เรื่องที่ 1 ลายไทย-ลายกระหนก / ความสำคัญของลายไทยในสังคมไทยเล่มที่ 38. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2566, จากเว็บไซต์ : https://www.saranukromthai.or.th /sub/book/book.php?book=38&chap=1&page=t38-1-infodetail01.html

วัชรพงศ์ หงส์สุวรรณ. (2563). ลายไทย (ฉบับสุดคุ้ม). กรุงเทพมหานคร : วาดศิลป์.

วิภาวี บริบูรณ์. (2553). พื้นฐานการเขียนลายไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006).

วิวัฒนาการของงานศิลปะไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2566, จากเว็บไซต์ : https://sites.google.com/site/khornganlaythiy/lwdlay-thiy

สถาบันสอนศิลปะ ฮิต แกลเลอเรีย. ต้นกำเนิดลายไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2566, จากเว็บไซต์ : https://www.hitgalleria.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/

สันติ เล็กสุขุม. (2550). ศิลปะอยุธยา : งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : เมืองโบราณ.

สันติ เล็กสุขุม. (2555). ศิลปะสุโขทัย : พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : เมืองโบราณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23