พุทธบูรณาการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชนวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • จันทนา จิตวิริยานันท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พุทธบูรณาการ, เศรษฐกิจสร้างสรรค์, ชุมชนวอแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และพุทธธรรม  ที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อศึกษาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชนวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 3) พุทธบูรณาการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชนวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีระเบียบวิธีวิจัยค้นคว้าทางเอกสารร่วมกับการศึกษาภาคสนามในพื้นที่แบบเฉพาะเจาะจง คือชุมชนวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 44 รูป/คน กำหนดและแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มหน่วยงานภาครัฐด้านพัฒนาชุมชน 7 คน 2) กลุ่มผู้นำชุมชน วิสาหกิจและอาสาสมัครชุมชน 15 คน    3) กลุ่มพระสังฆาธิการ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา 15 รูป/คน 4) กลุ่มภาคี เครือข่ายพัฒนาชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ 7 คน เครื่องมือใช้ศึกษาวิจัย 4 ชนิด ได้แก่  1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง 3) การสนทนากลุ่ม 4) เครื่องมือเก็บบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชนวอแก้ว

ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และพุทธธรรมมีเป้าหมายสอดคล้องกัน เน้นการพึ่งพาคุณค่าทุนทางสังคม นำไปสู่มูลค่าเพิ่มโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด

2) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชนวอแก้ว ใช้คุณค่าทุนทางสังคมผสานการเรียนรู้วิทยาการใหม่ พัฒนาเพิ่มมูลค่าบนพื้นฐานของเศรษฐกิจสร้างสรรค์          

3) พุทธบูรณาการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชนวอแก้ว ได้เกื้อหนุนทัศนคติต่อทุนทางสังคม เป็นสิ่งมีประโยชน์ มีคุณค่าสูง การพึ่งพาใช้สอยปัจจัยการผลิตมุ่งสู่เศรษฐกิจที่ดีงาม ชะลอความสิ้นเปลืองแก่    องค์รวมธรรมชาติ การอยู่ร่วมกันจึงงอกงามแห่งประโยชน์สุขนานับปการ

References

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดลำปาง. (2564). วิสัยทัศน์จังหวัดลำปาง (Vision). แผนพัฒนา จังหวัดลำปาง 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปี 2564. (อัดสำเนา). กลุ่มงาน ยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดลำปาง: สำนักงานจังหวัดลำปาง.

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จิตรา มาคะผล. (2556). “แนวทางการส่งเสริมชุมชนสร้างสรรค์ในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎี. บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์: บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

นันทนิษฎ์ สมคิด. (2561). “แนวทางการพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์ในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี”. ดุษฎีนิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). ม.ป.ท.

วุฒิชัย ภิสัชเพ็ญ. (2562). อุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์. TRIS ACADEMY CLUB MAGAZINE. 27 (23), 7.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2559). “การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต พัฒนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักตรวจสอบการดำเนินงานที่ 5 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. (2563). บทสรุปผู้บริหาร. การตรวจสอบ ผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. (อัดสำเนา).

สุรศักดิ์ ราศี และคณะ. (2557). “การพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษา บ้านแหล่งควาย ตำบลนาอาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย”. รายงานวิจัย. สำนักงานพัฒนาวิจัย พัฒนานวัตกรรม: สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา.

อภิชัย พันธเสน และคณะ. (2549). พุทธเศรษฐศาสตร์ ฉบับนิสิต นักศึกษา และประชาชน. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้าวิชาการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26