แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมการออกแบบผ้าทอกี่เอวของกลุ่มแม่บ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยง บ้านไม้สลี ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • อรทัย ไหมแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัยวิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตเชียงใหม่
  • ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาเขตเชียงใหม่
  • เยื้อง ปั้นเหน่งเพ็ชร์
  • ปรีชา วงค์ทิพย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: กระเหรี่ยง, ผ้าทอกี่เอว, การอนุรักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาผ้าทอกี่เอวของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงชุมชนบ้านไม้สลี ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
2) เพื่อส่งเสริมการออกแบบผ้าทอกี่เอวของกลุ่มแม่บ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงชุมชนบ้านไม้สลี ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาผ้าทอกี่เอวของกลุ่มแม่บ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงชุมชนบ้านไม้สลี ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านชาวกะเหรี่ยงบ้านไม้สลีจำนวน 15 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การทอผ้าถือเป็นหน้าที่ของเด็กผู้หญิงที่ได้รับการสืบทอดจากแม่ เป็นสายสัมพันธ์ภายในครอบครัวและเครือญาติ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ
วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม 2) การส่งเสริมการออกแบบผ้าทอกี่เอว ผู้วิจัยร่วมกับชุมชนได้จัดเวทีเสวนากลุ่ม เพื่อหาแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการสืบทอดทางศิลปะ วัฒนธรรม และความต้องการของตลาด 3) แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาผ้าทอกี่เอว โดยการคัดลอกลายที่ใกล้จะสูญหายนำมาพัฒนาออกแบบผสมผสานองค์ความรู้สมัยใหม่เข้ากับภูมิปัญญาดั้งเดิม จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับผ้าทอกี่เอว ปลูกฝังสร้างจิตสำนึกให้ชุมชนรักและหวงแหนตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าในภูมิปัญญาเกิดการอนุรักษ์และพัฒนาผ้าทอกี่เอวต่อไป

References

รีวรรณ จันพลาและคณะ. (2559). “การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยทรงดำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์”, มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปศาสตร์, 9(2), 44.

ญาณิศา โกมลสิริโชค. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากผ้าทอกะเหรี่ยง เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. วิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม. คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาม.

ญาณิศา โกมลสิริโชค. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากผ้าทอกะเหรี่ยง เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่.วิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

นิ่มนวล จันทรุญ. (2554). การพัฒนาทักษะการทอผ้าด้วยกี่เอว. รายงานการวิจัย. กลุ่มงานวิจัยและวิชาการ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระครูประภัทรสุตธรรม. (2560). การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการทอผ้าไหมของกลุ่มทอผ้าไหม บ้านดู่นาหนองไผ่ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรารัตน์ วัฒนชโนบล พร้อมคณะ. (2558). “การจัดการความรู้การทอผ้าพื้นบ้านของกลุ่มอาชีพเสริมบ้านสุขเกษม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม”. รายงานการวิจัย. สำนักบริหารโครงการส่งเสริมวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ: สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

สายสุนีย์ สิงหทัศน์, การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. [ออนไลน์], แหล่งที่มา:http://cmruir.cmru.ac.th/bitstream/123456789/154/4/C1382036.pdf

สายสุนีย์ สิงหทัศน์. (2543). การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :http://cmruir.cmru.ac.th /bitstream/123456789/154/4/C1_382036.pdf

สาวิตรี สุวรรณสถิตย์. (2529). ศิลปะการทอผ้าไทย”. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน, เล่มที่ 21, กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-27