การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนังมหาเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ แบบฉบับล้านนาในแหล่งท่องเที่ยวถิ่นล้านนา

ผู้แต่ง

  • ธีระพงษ์ จาตุมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ปฏิเวธ เสาว์คง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • อำนาจ ขัดวิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สุวิน มักได้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์งานจิตรกรรม, มหาเวสสันดรชาดก, ล้านนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังในศาสนสถานสำคัญของชุมชนแบบฉบับล้านนาร่วมสมัย 2. เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการรักษาผลงานจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนาอย่างแท้จริง 3. เพื่อจัดกิจกรรมถ่ายทอดในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น  เป็นการวิจัยเชิงพัฒนางานสร้างสรรค์ทางศิลปะในแบบจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ ณ วัดเกาะกลาง (ปวงสนุกนางเหลียว) ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณผนังทั้ง 4 ด้าน รวมพื้นที่ทั้งสิ้น ประมาณ 136 ตร.ม.

ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังในศาสนสถานสำคัญของชุมชนแบบฉบับล้านนาร่วมสมัย โดยได้รับแรงบันดาลใจจากชาดกเรื่อง ìมหาเวสสันดรชาดกî จำนวน 13 กัณฑ์ ในการถ่ายทอดใช้วิธีการเขียนภาพในรูปแบบจิตรกรรมล้านนาร่วมสมัยด้วยเทคนิคสีอะครีลิค แสดงเส้น สี แสง เงา ความชัดลึก และน้ำหนักสีที่มีอัตลักษณ์ ผสมผสานกับแนวคิดการจัดวางภาพในแต่ละกัณฑ์แบบไม่เรียงต่อเนื่องกัน แต่จะร้อยเรียงภาพและเรื่องราวให้เป็นเอกภาพเดียวกัน ด้วยโทนภาพสีเหลืองปนสีเขียวอมน้ำตาล การเน้นภาพตรงจุดศูนย์กลาง เพื่อเสริมความโดดเด่นของให้ภาพให้สวยงามในการสร้างเสริมศรัทธา ภาพพื้นหลังแสดงร่องรอยความผุกร่อนของพื้นปูนตามธรรมชาติ เพื่อสื่อให้เห็นถึงความเข้มขลังและเก่าแก่ และสื่อถึงกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อสะท้อนให้สำนึกถึงคุณค่าในการอนุรักษ์ศิลปกรรมล้านนา

2) การสร้างองค์ความรู้ในการรักษาผลงานจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนา โดยทำการเคลือบผิวจิตรกรรมบนผนัง เพื่อความมันวาวและความด้านของผิวภาพ โดยใช้น้ำยาเคลือบแบบมันเคลือบทับหลายชั้น เพื่อให้สีของจิตรกรรมมีความสดใสและคงทน

3) การจัดกิจกรรมถ่ายทอดในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดและประชาสัมพันธ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น อาทิ กิจกรรมการสอนและแนะนำความรู้เทคนิคการทำงานสร้างสรรค์ศิลปะแก่นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ  ทั้งในสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

References

กลุมอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม. (ม.ป.ป.). องคความรูดานการอนุรักษ์จิตรกรรม ประเภทจิตรกรรมบนเฟรมผ้าใบ. กรุงเทพมหานคร : สํานักโบราณคดี กรมศิลปากร.

ชะลูด นิ่มเสมอ. (2544). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

ชาญคณิต อาวรณ์. (2563). จิตรกรรมล้านนา พุทธประวัติ ทศชาติ ชาดกนอกนิบาต. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส.

ดวงกมล บุญแก้วสุข. (2566). จิตรกรรมชุดเวสสันดรชาดกฝีมือช่างเพชรบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2450 – 2490.” วารสารไทยคดีศึกษา. ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน).

นิโรจน์ จรุงจิตวิทวัส. (2561). เทคนิคในงานจิตรกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : นานมี.

นิธิอร พรอําไพสกุล. (2557). “การสร้างสรรค์เวสสันดรชาดกในจิตรกรรมฝาผนังและภาพ.” วารสารมนุษยศาสตร์. ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม).

ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง. (2557). จิตรกรรมพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : แปลนพริ้นท์ติ้ง

วนิดา ตรีสวัสดิ์. (2561). “การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านจิตรกรรมในวัด.” เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. ราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงวิจัย “การเกษตรก้าวไกล สังคมไทยยั่งยืน”. (1 มีนาคม).

สันติ เล็กสุขุม. (2538). ศิลปะภาคเหนือ: หริภุญชัย-ล้านนา. กรุงเทพมหานคร : เมืองโบราณ.

สุรพล ดำริห์กุล. (2561). ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา. นนทบุรี: เมืองโบราณ.

ฮันส์ เพนธ์. (2527). ความเป็นมาของล้านนาไทย. อนุสรณ์พระราชพิธีพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์. เชียงใหม่: ทิพยเนตรการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-27