ศึกษาวิเคราะห์การจัดการอารมณ์เชิงพุทธของผู้สูงอายุในโรงเรียนฮอมสุข ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นริศา ชุตินารา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • เทพประวิณ จันทร์แรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิโรจน์ วิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดการอารมณ์, แนวทางพุทธ, หลักไตรสิกขา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาการจัดการอารมณ์ด้านจิตวิทยา ด้านแพทยศาสตร์ และในทัศนะพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการจัดการอารมณ์เชิงพุทธของผู้สูงอายุในโรงเรียนฮอมสุข 3) ศึกษาวิเคราะห์การจัดการอารมณ์เชิงพุทธของผู้สูงอายุในโรงเรียนฮอมสุข ระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการอารมณ์แต่ละด้านเป็นดังนี้ (1) ด้านจิตวิทยา เป็นความสามารถของบุคคลในการตระหนักถึงการใช้ปัญญากำกับอารมณ์ของตนเอง และการใช้ปัญญาในการบริหารอารมณ์ผู้อื่นให้ดียิ่งขึ้น (2) ด้านแพทยศาสตร์ เป็นความสามารถที่จะควบคุมจัดการภาวะอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีเหตุผล เพราะการทำงานของสมองส่วนเหตุผลจะเกิดหลังจากส่วนรับรู้อารมณ์  (3) ด้านพระพุทธศาสนา เป็นการนำหลักไตรสิกขามาปรุงแต่งอารมณ์ให้เป็นกุศล

2) การนำหลักไตรสิกขา มาบูรณาการร่วมกับกิจกรรม 4 สุขภาวะ โดยใช้กิจกรรมเป็นเครื่องมือในการจัดการอารมณ์ดังนี้ (1) กิจกรรมสุขภาวะทางกาย เพื่อสุขภาพ (2) กิจกรรมสุขภาวะทางใจ (3) กิจกรรมสุขภาวะทางสังคม (4) กิจกรรมสุขภาวะทางปัญญา

3) การวิเคราะห์การจัดการอารมณ์เชิงพุทธ เมื่อนำหลักไตรสิกขาเข้าไป
บูรณาการกับกิจกรรม 4 สุขภาวะ พบว่า การจัดอารมณ์ให้ดียิ่ง ด้านจิตวิทยา เสนอว่าให้สนองความอยาก แต่ด้านพุทธศาสนานั้น ก็คือ ให้ฝึกสมาธิ การจัดการอารมณ์ที่ไม่ดีนั้น ทั้ง 3 ด้าน มีหลักการเหมือนกัน คือ การฝึกสมาธิ เป็นการทำจิตให้สงบ

References

ชนิกา ภูวดิษยคุณ. (2554). “การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารความเครียดในองค์กร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวิตและความตาย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เทวัญ อุทัยวัฒน์ (9 กค. 63). “สังคมสูงวัยสู่อนาคตประเทศไทย”. ไทยโพสต์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thaipost.net/main/detail/70965 [3 พฤศจิกายน. 2563].

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส พรินติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). คู่มือชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์สวยจำกัด.

_________. (2557). สุขภาวะแบบองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 35. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

พระอธิการสมหมาย มหาปุญฺโญฃ (รินทรชัย). (2559). “การใช้หลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุชุมชนสุขสวัสดิ์ จังหวัดลำปาง”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-20