การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว แพหนองหาร ไชยบุรี จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, การจัดการการท่องเที่ยวบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ 1) เพื่อศึกษาถึงความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวแพหนองหารไชยบุรี 2) เพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวแพหนองหารไชยบุรี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างมี 1 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มของประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม จำนวน 399 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนมีความต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวตั้งแต่การเสนอความคิดเห็น การวางแผน การตัดสินใจ การมีส่วนร่วมปฏิบัติ เสียสละในการพัฒนาด้านต่าง ๆ การมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ และการติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวแพหนองหารไชยบุรี ได้แก่ ควรให้ผู้นำชุมชนและคนในชุมชน รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ มีโอกาสในการวางแผน ดำเนินการ และประเมินผลโดยคนในชุมชนเป็นกรรมการ ภาครัฐควรมาช่วยในการพัฒนาบุคลากรในแหล่งท่องเที่ยวให้มีความรู้ความสามารถในการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบการจัดการอย่างโปร่งใส จัดตั้งคณะกรรมที่น่าเชื่อถือ โดยมาจากทางภาครัฐและชุมชนและต้องมีระบบการจัดการร้านค้าที่ขายของที่ระลึกที่เป็นรูปธรรมชัดเจน มีการจัดการระบบการตรวจสอบที่โปร่งใส
References
กาญจนา อายุวัฒน์ธนชัย. (30 เมษายน 2559). ข่าวการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. การท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย. https://www.tat.or.th/th/about-tat/annual-report 145541
กระแสการท่องเที่ยวนครพนม. (2560). สรุปสถิติการท่องเที่ยวนครพนม. สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครพนม.
จงรัก อินทยนต์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษาบ้านโป่งร้อน ตำบลใหม่พัฒนา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. บริษัท เพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด.
ยุทธศักดิ์ สุภสร. (3 เมษายน 2559).สรุปข่าวเด่นการท่องเที่ยวไทย.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. https://www.tat.or.th/th/about-tat/annual-report 121251.
สุดารัตน์ นาคประกอบ. (2546). แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการอุทยานแห่งชาติป่าหินงามเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดชัยภูมิ. (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
แผนพัฒนาจังหวัดนครพนม 4 ปี. (2557). ฤดูกาลท่องเที่ยวเมืองสุขที่สุด. สำนักงานจังหวัดนครพนม.
Cohen , J.M. and Uphoff. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies. Cornell University.
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd Ed.). New York Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.