แนวปฏิบัติและกระบวนการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของเครือข่ายพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูง : พื้นที่ต้นแบบ ฮอด แม่แจ่ม แม่สะเรียง

ผู้แต่ง

  • สกุณา คงจันทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระวุฒิชัย มหาสทฺโท (เสียงใหญ่) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ร้อยโทเทิดศักดิ์ ดวงปันสิงห์ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4

คำสำคัญ:

พระนักพัฒนา, หลักพุทธธรรม, การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในกระบวนการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของเครือข่ายพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูง   (2) เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของเครือข่ายพระนักพัฒนาบนที่สูงในพื้นที่ต้นแบบอำเภอฮอด อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่สะเรียง (3) เพื่อวิเคราะห์แนวปฏิบัติของเครือข่าย   พระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงและกระบวนการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ต้นแบบ อำเภอฮอด อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่สะเรียง (4) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ของพื้นที่ต้นแบบ (Model) ในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของเครือข่ายพระนักพัฒนาและกระบวนการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ต้นแบบ การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา จำนวน  27  รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางปฏิบัติในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม คือ หลักอิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท กรรม และเมตตา 2) ผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย (1) การจัดการขยะ (2) บวชป่า  (3) ทำแนวกันไฟ (4) อนุรักษ์ต้นน้ำ (5) อนุรักษ์พันธุ์ปลา (6) รณรงค์การไม่ใช้สารเคมี (7) ธนาคารข้าว (8) เครือข่ายอาสาสมัครรักษ์สิ่งแวดล้อม 3) วิเคราะห์แนวปฏิบัติของเครือข่ายพระนักพัฒนา ประกอบด้วย (1) การใช้แบบยั่งยืน (Sustainable utilization) (2) การกักเก็บรักษา (Storage) (3) การรักษาหรือซ่อมแซม (repair)   (4) การฟื้นฟู (rehabilitation) (5) การพัฒนา (development) (6) การป้องกัน (protection) (7) การสงวน (preservation)  (8) การแบ่งเขต (Zoning) และ 4) สังเคราะห์องค์ความรู้ในพื้นที่ต้นแบบ (Model) ประกอบด้วย (1) การพัฒนาศักยภาพของคน (Man) (2) งบประมาณ หรือ เงินหรือทุน หรือทรัพยากร (Money/Resource)  (3) วัสดุ (Material)  (4) การบริหารจัดการ (Management) (5) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Network) (6) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม (Holistic Approach) 

References

เกษม จันทร์แก้ว. (2564). สิ่งแวดล้อมของไทยในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จุฑารัตน์ หงษ์จินดา และ จุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2557). “ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการดำเนินงานระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001): กรณีศึกษา บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)”. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 10(1), 76.

จำลอง โพธิ์บุญ. (2545). “การพัฒนาแบบองค์รวมในมุมมองของนักจัดการสิ่งแวดล้อม”. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. (42)ฉบับพิเศษ, 13.

ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร และคณะ. (2564). “การพัฒนาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก”. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ. 2(3),92.

ทศพล เผื่อนอุดม. (2559). “อำเภอในฝัน แม่แจ่มโมเดลพลัส”. วารสาร MCUSR มหาวิทยาลัยสร้างอนาคตประเทศไทย. 4(2), 4.

ประพันธ์ ศุภษร. (2558). “พุทธธรรมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 11(1), 18.

พระอนุสรณ์ ปรกฺกโม (ยิ่งยง). (2558). “การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท”. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. (4 (2), 311-319.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2548). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ.กรุงเทพมหานคร: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

สมุดแผนที่คาร์บอนโลก. (2560). การปล่อยมลพิษจากเชื้อเพลิงฟอสซิล. กรุงเทพมหานคร: องค์การอนามัยโลก.

อาทิตย์ บุญรอด และคณะ. (2565). “สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดเชียงราย”. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. (13)2, 201.

Kokpol, O. & Chaonar, S. (2008). Decoding Award Prapokklao ‘50. King Prajadhipok’s Institute.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26