บลอย ฆา เนอ วา : การศึกษาบุญกิริยาวัตถุ 3 ในเทศกาลเข้าพรรษาของชาติพันธุ์ดาราอาง บ้านห้วยจะนุ ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

บลอย ฆา เนอ วา : การศึกษาบุญกิริยาวัตถุ 3 ในเทศกาลเข้าพรรษาของชาติพันธุ์ดาราอาง บ้านห้วยจะนุ ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระณัฎฐ์ธวัฒน์ กุสโล (ละยอย) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อุเทน ลาพิงค์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระมหาวิเศษ ปญฺญาวชิโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

บุญกิริยาวัตถุ,, เทศกาล “บลอย ฆา เนอ วา”,, ชาติพันธุ์ดาราอาง,

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบุญกริยาวัตถุในพุทธปรัชญาเถรวาท  2) เพื่อศึกษาเทศกาล “บลอย ฆา เนอ วา” ในเทศกาลเข้าพรรษาของ ชาติพันธุ์ดาราอาง  3) เพื่อศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์เทศกาล “บลอย ฆา เนอ วา” ของชาติพันธุ์ดาราอาง บ้านห้วยจะนุ ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการเลือกโดยเฉพาะเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลเนื่องจากการวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูลจึงใช้การวิเคราะห์พรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

1) บุญกิริยาวัตถุ 3 ในพุทธปรัชญาเถรวาท คือการทำความดี โดยการให้ทาน รักษาศีล และการภาวนา

2) เทศกาล “บลอย ฆา เนอ วา” เป็นเทศกาลเข้าพรรษาของชาติพันธุ์ดาราอาง โดยการนำเอาการเข้าพรรษาแบบพุทธเถรวาทผสมผสานเข้ากับความเชื่อ วัฒนธรรม แนวคิด วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาติพันธุ์    ดาราอาง

3) แนวทางการอนุรักษ์เทศกาล “บลอย ฆา เนอ วา” จำเป็นต้องให้ชาวดาราอาง ตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาบุญกิริยาวัตถุ 3 ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา เมื่อเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วย่อมเกิดความรักและห่วงแหนซึ่งเทศกาลอันทรงคุณค่าและเป็นมรดกดั้งเดิมของชาติพันธุ์ดาราอางสืบไป

References

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.(2527). ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูปลัดกิตติวัฒน์ (เมธวัจ สีลภูสิโต). (2560). การปฏิบัติบุญกิริยาวัตถุของพุทธศาสนิกชน : ศึกษาเฉพาะ กรณี พุทธศาสนิกชนวัดบางนานอก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขา พระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูโพธิชยธรรม (บุปผาสังข์). (2555). การศึกษาเปรียบเทียบการให้ทานสมัยพุทธกาลกับการให้ทานของชาวตำบลนาเลิง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาจิตนเรศ วุฑฺฒิธมฺโม และคณะ. (2553). การศึกษาประเพณีเข้าพรรษาในสังคมไทยภาคอีสาน. รายงานการวิจัย. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วาสนา ละอองปลิว. (2546). ความเป็นชายขอบและการสร้างพื้นที่ทางสังคมของคนพลัดถิ่น : กรณีศึกษาชาวดาระอั้งในอำเภอเชียงดาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สรัญพัฒน์ ตันสุขเกษม. (2547). การสื่อสารและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐาปนีย์ เครือระยา. ดาราอั้ง. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จาก https://art-culture.cmu.ac.th/Lanna/articleDetail/1252, 2563.

วันเข้าพรรษา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563. จากhttp://www.dra.go.th/th/วันเข้าพรรษา.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31