แนวทางการเข้าถึงสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของกลุ่มคนไร้สัญชาติบ้านแก่งทรายมูล ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
แนวทางการเข้าถึง, สิทธิขั้นพื้นฐาน, คนไร้สัญชาติบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไร้สัญชาติ ในหมู่บ้านแก่งทรายมูล ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
2) เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไร้สัญชาติ ในหมู่บ้านแก่งทรายมูล ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไร้สัญชาติ ในหมู่บ้านแก่งทรายมูล ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้ ได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มคนไร้สัญชาติ ทั้งสิ้น 18 คน ในการวิเคราะห์ ได้แก่ วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยนำข้อมูลทั้งที่ได้ได้บันทึกเทป โดยการถอดบทสัมภาษณ์ ถ่ายรูปภาพ การสังเกต ปฏิกิริยาผู้ให้ข้อมูล
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) การเข้ามายังประเทศไทยแบบผิดกฎหมาย ส่งผลทำให้กลุ่มคนไร้สัญชาติประสบปัญหาในการเข้าถึงสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน เนื่องจากประเด็นปัญหาโดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้ 1) ด้านเอกสาร 2) ปัญหาด้านบุคคล 3) ปัญหาด้านการขาดองค์ความรู้
4) ปัญหาด้านการสื่อสารและการประสานงาน
2) กลุ่มคนไร้สัญชาติบ้านแก่งทรายมูลได้รับการเสริมสร้างดังนี้ 1) ภาครัฐ
2) ภาคเอกชน มูลนิธิกระจกเงา 3) ภาคชุมชน
3) กลุ่มคนไร้สัญชาติบ้านแก่งทรายมูลมีการขาดองค์ความรู้ในการเข้าถึงนโยบายของภาครัฐจึงทำให้ยังมีปัญหาการเข้าถึงแนวทางการเข้าถึงสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน มีอยู่ 3 ด้าน
1) สิทธิ์การตรวจหาสารพันธุกรรม เพื่อลดปัญหาสถานะทางทะเบียนราษฎร์ 2) สิทธิ์การแปลงสัญชาติ 3) สิทธิการขอสัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ
References
สุไรนี สายนุ้น. (2563). มาลายูไร้สัญชาติ. รายงานวิจัย. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. ลำปาง: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประทีป นทีทวีวัฒน์. (2551). นโยบายการแก้ปัญหาคนไร้สัญชาติ: ปัญหาในการนำนโยบายไปปฏิบัติ. รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาธรรมศาสตร์.
เรวัต เฉลียวศิลป์. (2552). สิทธิการได้มาซึ่งสัญชาติ: ศึกษาปัญหาการจำกัดสิทธิของบุคคลในการได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นฤมล อรุโณทัย. (23 สิงหาคม 2564). ปัญหาคนไร้สัญชาติ ซับซ้อนแต่ไม่ไร้ความหวัง (รู้ลึกกับจุฬาฯ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ( ออนไลน์), แหล่งที่มา : https://www.chula.ac.th/cuinside/12859.
Chiang Mai University and UNICEF Thailand. (23 สิงหาคม 2564). ชีวิตที่ไม่มีใครเห็น 48 ปี สถานการณ์เด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (ออนไลน์), แหล่งที่มา : https://www.unicef.org/thailand/media/5861/file/Invisible%20Lives:%2048%20Years%20of%20the%20Situation%20of%20Stateless%20Children%20in%20Thailand.pdf.
นิยม ยากรณ์. (กรกฏาคม - ธันวาคม 2562). ปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการแห่งรัฐของคนไร้สัญชาติ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 7(2), บทคัดย่อ.
TCIJ ออนไลน์. (23 สิงหาคม 2564). จับตา : หลักเกณฑ์ (ใหม่) การกำหนดสถานะและสิทธิของบุคคลที่อพยพเข้ามาและอาศัยอยู่มานาน, (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.tcijthai.com/news/2021/1/watch/11375.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.