พุทธจิตรกรรมล้านนา : คติธรรมและความเชื่อสู่การสร้างสรรค์ ผ่านจิตรกรรมฝาผนัง
คำสำคัญ:
พุทธจิตรกรรม, คติธรรมและความเชื่อ, ล้านนาบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพุทธจิตรกรรมล้านนา 2) เพื่อวิเคราะห์คติธรรมและความเชื่อที่ปรากฏในพุทธจิตรกรรมล้านนาผ่านจิตรกรรมฝาผนัง 3) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ในการสร้างสรรค์พุทธจิตรกรรมล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1) พุทธจิตรกรรมเป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาของจิตรกรผู้สร้างสรรค์จินตนาการและ แรงบันดาลใจ พร้อมทั้งรวบรวมความรู้สาขาอื่นๆ มาใช้แล้วถ่ายทอดความคิดความรู้สึกออกมาเป็นภาพเขียน บอกเล่าเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา วิถีชีวิตชุมชน และวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของล้านนา
2) คติธรรมและความเชื่อที่ปรากฏอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนังในแต่ละวัดของล้านนา จำแนกเนื้อหาคติธรรมและความเชื่อจากงานพุทธจิตรกรรมออกเป็น 5 กลุ่ม คือ (1) พุทธประวัติ (2) ทศชาติชาดก (3) พระมาลัย (4) ชาดกนอกนิบาต (5) ประเพณี และความเชื่อล้านนา ปัจจัยเหล่านี้ได้เรียบเรียงเนื้อหาไว้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางคติธรรมและความเชื่อของชาวล้านนาให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานพุทธจิตรกรรมล้านนา
3) องค์ความรู้ในการสร้างสรรค์พุทธจิตรกรรมล้านนา สามารถสะท้อนองค์ความรู้ในแง่มุมต่างๆ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ (1) สะท้อนวิถีชีวิต (2) ความเชื่อเรื่องไตรภูมิ (3) บำรุงและสืบทอดศาสนา (4) สะท้อนความนิยมทางด้านศิลปศึกษาในแต่ละยุคสมัย เพื่อนำองค์ความรู้มาสร้างสรรค์งานจิตรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาสืบไป
References
กณิกนันท์ อำไพ. (2548).จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดโพธิ์ปฐมาวาส จังหวัดสงขลา : ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนสงขลาสมัยต้นรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
น. ณ ปากน้ำ. (2544). จิตรกรรมฝาผนังหนึ่งในสยาม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
มโน พิสุทธิรัตนานนท์. (2547). สุนทรียวิจักษณ์ในจิตรกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
พระครูศรีปัญญาวิกรม (บุญเรือง ปญฺญาวชิโร/เจนทร). (2557). การศึกษาวิเคราะห์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย.
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2556). ศิลปะล้านนา. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานครมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.