การพัฒนาสถานศึกษาตามแนว PMQA ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
การพัฒนาสถานศึกษา, PMQA, ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูนบทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาสถานศึกษาตามแนว PMQA ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาตามแนว PMQA ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูน 3) เพื่อตรวจสอบแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาตามแนว PMQA ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการพัฒนาสถานศึกษาตามแนว PMQA ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การนำองค์กร การวางแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล การจัดการกระบวนการ ผลลัพธ์การดำเนินการ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ตามลำดับ
2) แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาตามแนว PMQA ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูน คือผู้บริหารควรสร้างความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันการคิดค้นระบบงานและเทคนิคบริหารเพื่อใช้ในปฏิบัติงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์ ควรวิเคราะห์ปัจจัยทั้งภายในและภายนอก มาใช้ประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติ ควรให้โอกาสกับผู้มีส่วนได้เสียมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ควรมีการสื่อสารภายในด้วยเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีความสามารถจัดการแก้ปัญหาเรียนรู้ได้ อย่างรวดเร็ว ควรนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ควรวิเคราะห์จุดแข็งและโอกาสในการนำองค์กรของตนเองทุกสิ้นปีการศึกษา
3) การตรวจสอบแนวทางส่งเสริมการพัฒนาสถานศึกษาตามแนว PMQA ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูน มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 100
References
จำเริญ รัตนบุรี. (2557). การบริหารจัดการระบบคุณภาพ ตามเกณฑ PMQA โรงเรียนมาตรฐานสากลสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล (Individual Study) หลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2558). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ.2558. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
ชไมพร เทือกสุบรรณ.(2553). ประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติในกรมที่ดิน : กรณีการนำตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) มาปฏิบัติ.วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารจัดการสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พิรส บุญชุม.(2552). ปัจจัยแนวทางแก้ไขการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ภักดี เหมทานนท์. (2559). การบริหารงานวิชาการตามแนวทาง PMQA โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูงจังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล. หลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.
รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา. (2556). กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 15(3).
สันติ แสงวี. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(7).
บุศกร วัฒนบุตร. (2554). การประเมินสัมฤทธิผลคุณภาพการบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.