ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการ ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพร ในกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ความหลากหลายทางชีวภาพ, กลุ่มชาติพันธุ์ม้บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพร : กรณีศึกษาในวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพร
กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 374 คน จากกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยภายในชุมชนมีอิทธิพลต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยด้านระบบการแพทย์พื้นบ้าน รองลงมา คือด้านปัจจัยวัฒนธรรมดั้งเดิม
2) ปัจจัยด้านผลิตเพื่อยังชีพ ปัจจัยภายนอกชุมชนที่มีอิทธิพลต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง จังหวัดเชียงราย ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ระบบการผลิตสมัยใหม่ รองลงมา คือ วัฒนธรรมสมัยใหม่ และระบบการแพทย์แผนใหม่
References
ยศ สันตสมบัติ. (2537). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
วิพัฒน์ ถาวโรฤทธิ์และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ เพื่อใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนท้องถิ่นบริเวณรอยต่อเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จังหวัดปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 14(1), 11-22.
ศศิธร ศรีรัตน์. (2554). การแพทย์พื้นบ้านชาวม้ง : กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สรายุทธ คาน. (2560). รูปแบบการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชนกรณีศึกษา : ชุดโครงการวิจัยและพัฒนา การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารสารสนเทศ. 16(2), 169-181.
เอกศักดิ์ เฮงสุโขและวิสิทธิ์ มะณี. (2561). รูปแบบการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการดูแลสุขภาพและการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. 6(1), 278-293.
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ (2551). 30 ชาติในเชียงราย. (พิมพค์ร้ังที่3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.