ศึกษาวิเคราะห์แนวปฏิบัติของเครือข่ายพระนักพัฒนาและกระบวนการสื่อสารวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ต้นแบบ สบเมย แม่ลาน้อย ขุนยวม เมืองแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • วิสุทธิชัย ไชยสิทธิ์ 0839451299
  • วรวิทย์ นิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สำราญ ขันสำโรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • อุเทน ลาพิงค์ มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ธีรัฐภิชศ์ สาละวินพรพนา นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

การสื่อสารวัฒนธรรม, เครือข่าย, พระนักพัฒนา, ชุมชนบนพื้นที่สูง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการสื่อสารวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงของเครือข่ายพระนักพัฒนา และ 2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวปฏิบัติของเครือข่ายพระนักพัฒนาและกระบวนการสื่อสารวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ต้นแบบ สบเมย แม่ลาน้อย ขุนยวม เมืองแม่ฮ่องสอนของเครือข่ายพระนักพัฒนา เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มกับตัวแทนกลุ่มพระสังฆาธิการ พระนักพัฒนา ผู้นำชุมชนและแก่นนำในพื้นที่ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางปฏิบัติในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการสื่อสารฯ คือ การทำงานเชิงรุกเน้นธรรมะที่ชาวบ้านสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การใช้สื่อบุคคลที่เป็นแบบอย่างในชุมชนเป็นตัวอย่างและเทคโนโลยีช่วยในการเผยแผ่

2. แนวปฏิบัติและกระบวนการสื่อสารวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้ 1) การสื่อสารของพระนักพัฒนาต้องเป็นการทำงานเชิงรุกมาก มีทักษะในการสื่อภาษาถิ่นกับกลุ่มชาติพันธุ์ ทำงานด้วยใจรักและมีปณิธานที่ชัดเจน 2)เนื้อธรรมควรเป็นหลักธรรมที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชน มีประโยชน์แก่ชาวบ้าน ชุมชนและประเทศชาติ 3) ช่องทางการสื่อสารเกี่ยวข้องการการใช้สื่อเทคโนโลยีและช่องทางที่จะสื่อสารกับชาวบ้านในชุมชน 4.ผู้รับสารต้องมีหลักอุบาสกธรรมและปฏิบัติตามหลักกาลามสูตร 5) การสร้างเครือข่ายของพระนักพัฒนาที่มีหลายกลุ่มเพื่อทำเป้าหมายเดียวกัน เพื่อช่วยสนับสนุนการสื่อสารฯของกลุ่มชาติพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

References

กฤตินีณัฏฐ์ วุฒิสิทธิ์ และคณะ. (2553). โครงการศึกษาวิจัยพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของโลกที่มีผลกระทบต่อ

วัฒนธรรม-สังคมไทย. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา เงินประเสริฐศรี. (2544). การวิจัยแบบมีส่วนร่วม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2 (7), 61-71.

พระครูพิพิธสุตาทร,ดร.และคณะ. (2551). โครงการการสื่อสารเพื่อการพัฒนาพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). เชียงใหม่ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2548). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โครง-

การเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพมหานคร: โอเอ็นจี การพิมพ์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่. (2550). คู่มือการปฏิบัติศาสนกิจของพระบัณฑิตอาสา. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ พี.ดี.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลักษณะประชาการจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2561). [ออนไลน์]สืบค้น 4 มีนาคม 2561” เข้าถึงได้จาก: http://www.maehongson.go.th/usrupl/maehongson /document/mhs_popchar.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-20