การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ของอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ผลิตภัณฑ์, การส่งเสริมการท่องเที่ยวบทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อการท่องเที่ยว 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนกับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ และการจัดเวทีสนทนากลุ่ม ระหว่างผู้วิจัยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอำเภอกัลยานิวัฒนา พบว่า อำเภอกัลยาณิวัฒนามีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นประกอบไปด้วย ข้าวกล้องดอย ผ้าทอกระเหรี่ยง และกาแฟ โดยทางชุมชนได้มีการประชามติเลือกผลิตภัณฑ์กาแฟที่มีการปลูกกันทุกครัวเรือน สื่อถึงอัตลักษ์และวิถีชีวิตของชุมชน เป็นวัฒนธรรมที่มีมายาวนาน คือ เมื่อเด็กเกิดมาในครอบครัวใดแล้ว จะมีการปลูกต้นไม้ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของเด็กและให้เด็กคนนั้นได้ดูแลรักษาต้นไม้ต้นนั้นสืบไป
2) การอออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อการท่องเที่ยวของอำเภอกัลยาณิวัฒนา โดย (1) ชุมชนได้มีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อร่วมกันพัฒนาตั้งแต่นำเมล็ดกาแฟที่มีอยู่ในทุกครัวเรือน มาผ่านกระบวนการแปรรูปผลิตเป็นกาแฟด้วยความร่วมมือของกลุ่มชุมชนทุกขั้นตอน จนได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบกาแฟของชุมชน และตั้งชื่อว่า กาแฟ ìเดปอถู่î ซึ่งสื่อถึงสัญลักษ์ของชุมชน (2) ชุมชนได้ร่วมกันนำกาแฟมาต่อยอดออกแบบสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สบู่น้ำผึ้งกาแฟที่สามารถใช้ในครัวเรือนตลอดจนเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อขายและส่งเสริมการท่องเที่ยว
3) กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว เริ่มตั้งแต่กระบวนค้นหาข้อมูล โดยการลงพื้นที่เพื่อสำรวจผลิตภัณฑ์ชุมชน ระดมความคิดเห็นเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยชุมชนได้ร้อยเรื่องราวทำให้ทราบถึงอัตลักษ์และวิถีชีวิตของชุมชน สู่กระบวนการผลิตและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สื่อถึงเอกลักษ์ของชุมชน
สู่กระบวนการต่อยอดผลิตภัณฑ์ต้นแบบเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการขายที่ส่งผลทำให้ชุมชนมีรายได้ก่อให้เกิดเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนต่อไป
References
การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในกาพัฒนาการท่องเที่ยว. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 : 8.
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. คณะวิทยาการจัดการ:มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รวีวรรณ โรยรา. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: โอเดียน สโตร์.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย. (25 กรกฎาคม 2563). การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. ออนไลน์. แหล่งที่มา: http://std.kku.ac.th/4830801696/nor1/index2.
สวิชญา ทองลอย. (2549). วิวัฒนาการและแนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. ออนไลน์. 26 กรกฎาคม 2563. แหล่งที่มา: http://dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789/1596/6/6chap2.pdf.
สุภัทณี เปี่ยมสุวรรณกิจ และสุทธิพร เปี่ยมสุวรรณกิจ. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. มหาวิทยาลัย.
ราชภัฎสงขลา การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม : 1059.
อำเภอกัลยาณิวัฒนา. (2564). ออนไลน์. 12 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki
อินทำ วันทนาพร. (2562). “แนวทางการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ระลึกเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว จังหวัดพะเยา”. หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.