โควิด 19 : กระบวนการปรับตัวของชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
โควิด 19, กระบวนการ, การปรับตัวของชุมชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบของชุมชนตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 2) เพื่อศึกษากระบวนการปรับตัวของชุมชน ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการปรับตัวเชิงพุทธบูรณาการ ของชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 การศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 28 รูป/คน
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและผลกระทบของโรคโควิด 19 ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ 1) ปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกาย ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ 2) ด้านจิตใจเกิดความรู้สึกเครียด กลัวและวิตกกังวล 3) ด้านเศรษฐกิจ ขาดรายได้ ตกงาน 4) ด้านสังคม สัมพันธภาพในครอบครัวและชุมชนลดลง
2) กระบวนการปรับตัวของชุมชนตำบลบ้านเป้านั้น มีทั้งหมด 4 ด้าน 1) ด้านร่างกาย ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา 2) ด้านจิตใจ พูดคุยกับคนใกล้ชิดเพื่อผ่อนคลายความเครียด 3) ด้านสังคม เว้นระยะห่างทางสังคม 4) ด้านเศรษฐกิจ ประหยัด ลดการซื้อของใช้ที่ไม่จำเป็น
3) ชุมชนตำบลบ้านเป้าได้ใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ดังนี้ 1) เมตตา คือ ปรารถนาให้คนในชุมชนมีความสุข ช่วยเหลือแบ่งปันสิ่งของใช้จำเป็น 2) กรุณา ปรารถนาให้คนในชุมชนพ้นทุกข์ นำเอาเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่าย 3) มุทิตา ยินดีเมื่อคนชุมชนได้ปลอดภัยจากโรคโควิด 4) อุเบกขา ปล่อยวาง ไม่โกรธไม่เกลียดกัน ทำใจยอมรับในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
References
จิตชนก บุญสำราญ. (2560). การรับรู้การบริการสุขภาพตามหลักพรหมวิหารธรรม 4 ประการ ของผู้มารับบริการแผนกส่องกล้องตรวจหลอดลมสถาบันโรคทรวงอก. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 3(1) .
ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่. (27 สิงหาคม 2564). กำหนดพื้นที่ควบคุมการเข้า-ออก, ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่.
ฉบับที่ 24 ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2564. แหล่งที่มา : http://www.chiangmai.go.th/covid19/assets/pdf/command/24_2564.pdf
ประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (15 สิงหาคม 256). แถลงสถานการณ์การระบาดโรค COVID-19 จังหวัดเชียงใหม่ประจำวัน. แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/chiangmaihealth/
ปัทมกร ปุริโส. (2561). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 สำหรับวิชาชีพพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รณชิต สมรรถนะกุล. (2563). ผลกระทบของสถานการณ์ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ 2019. ที่มีต่อสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. รายงานการวิจัย. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วิเชียร มันแหล่ และคณะ. (2564). ผลกระทบและการปรับตัวของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(11). 327- 240.
สุนทร ปัญญะพษ์ และคณะ. (2565). ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตชุมชนวิถีใหม่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 22(1), 209-219.
สุพัตรา รุ่งรัตน์ และคณะ. (2563). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
อำพวรรณ์ ยวนใจ. “COVID-19 กับการตีตราทางสังคม : บทบาทพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ, งานการพยาบาลอายุรศาสตร์และจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700”. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 32(1), 91.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.