การสังเคราะห์องค์ความรู้ศิลปกรรมในล้านนา
คำสำคัญ:
ศิลปกรรม, ประวัติศาสตร์ศิลป์, ล้านนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศิลปกรรมในล้านนา 2) เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางศิลปกรรมล้านนา แก่เยาวชน นิสิต นักศึกษา และชุมชน 8 จังหวัดภาคเหนือ และ 3) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้งานศิลปกรรมล้านนา ในการส่งเสริมการศึกษาการพัฒนาคุณภาพทางศิลปะ และการสร้างเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาศิลปกรรมล้านนาในภาคเหนือตอนบน
ผลของการศึกษา พบว่า 1) ประวัติศาสตร์ศิลปกรรมในล้านนา มีร่องรอยหลักฐานศิลปวัตถุและแหล่งโบราณสถานที่กระจายตัวอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยจำนวนมาก ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 โดยมีคติความเชื่อธรรมชาตินิยมหรือวิญญาณนิยม ก่อให้เกิดศิลปะผนังถ้ำ และลวดลายประดับในเครื่องมือเครื่องใช้ ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาจึงมีการผสมผสานคติความเชื่อดั้งเดิมกับพระพุทธศาสนาเข้าด้วยกันโดยการสืบทอดมาจากศิลปะทวารวดีและศิลปะลพบุรี ตั้งแต่สมัยอาณาจักรหริภุญชัย ผสมผสานกับศิลปะเชียงแสนแห่งอาณาจักรโยนก ทำให้ศิลปกรรมล้านนามีความเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท 2) การเสริมสร้างความรู้ทางศิลปกรรมล้านนาโดยการจัดกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปกรรมท้องถิ่น กิจกรรมการฝึกอบรมความรู้และเทคนิคด้านศิลปะล้านนาแก่นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป และ 3) การสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปกรรมล้านนาที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวโดยการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในชุมชนเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่แสดงถึงแนวคิดและแรงบันดาลใจของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมในชุมชน
References
ไชยสิทธิ์ ชาญอาวุธ. (2560). “ศิลปะข้างถนนการแสดงออกบนพื้นที่สาธารณะ:ต่อเหตุการณ์สาคัญในสังคม”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 11(2), 124-135.
บุญส่งชัย สิงห์กานานนท์. (2541). “ข้อสังเกตต่อทฤษฎีเชิงสร้างสรรค์ทางศิลปะ”. อักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. 21(1), 5-37.
คมเนตร เชษฐพัฒนวนิช. ความเชื่อพื้นบ้านล้านนา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระครูธีรสุตพจน์ (สง่า ไชยวงค์). (2557). “วิเคราะห์ศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการสร้างงานพุทธศิลปกรรมล้านนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2011). “การสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมชุมชนเมืองที่น่าอยู่อาศัย: ปัญหาที่มองไม่เห็นและแนวทางแก้ไข”. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง. 8 (2), 9-10.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2556). พระพุทธรูปในประเทศไทย: รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.