ความเชื่อทางศาสนาของชาวม้ง

ผู้แต่ง

  • พระครูใบฎีกาทิพย์พนากรณ์ ชยาภินนฺโท (เลาลี) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, ม้ง, ศาสนา, พิธีกรรม

บทคัดย่อ

ชาวม้งส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในเขตประเทศเอเชียยังรักษาความเชื่อดั้งเดิมของตนไว้เหนียวแน่น เนื่องจากความเชื่อทางศาสนาดั้งเดิมแฝงอยู่ในวิถีวัฒนธรรมทั้งหมดของตนตั้งแต่ในครอบครัว สังคม จนถึงสภาพแวดล้อม และคติความเชื่อตั้งแต่เกิดจนตาย รวมถึงวิถีการทำเกษตร ประเพณีพิธีกรรม ดังนั้น ความเชื่อดั้งเดิมยังมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของชาวม้ง แต่ส่วนหนึ่งได้รับเอาความเชื่อทางศาสนาอื่นๆ เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ โดยมีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน คือ การนับถือศาสนาพุทธ กรณีประเทศไทยเกิดขึ้นจากปัญหาความมั่นคงทางการเมืองจากภัยคอมมิวนิสต์ รัฐบาลไทยได้จัดตั้งโครงการพระธรรมจาริกให้เป็นแกนนำสำคัญในการหล่อหลอมให้ชาวม้งนับถือศาสนา เพื่อลดปัญหาการเมืองและเป็นหนึ่งเดียวกันกับพลเมืองไทย ในขณะที่ศาสนาคริสต์ได้เข้ามาเผยแพร่ในกลุ่มชาวม้งตั้งแต่คริสตวรรษที่ 18 ในประเทศจีน และได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการอพยพเข้ามาในประเทศไทย ลาว เวียดนาม และพม่า มีเป้าหมายหลักเพื่อขยายศาสนิกชนผ่านการช่วยเหลือในด้านการรักษาพยาบาล 

อย่างไรก็ตาม ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สามารถผสานกลมกลืนกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวม้งได้เป็นอย่างดี ไม่ได้มีแนวคิดที่ขัดแย้งกับความเชื่อเรื่องผี การแบ่งแยกพื้นที่ทางสังคมในการประกอบพิธีกรรมกันอย่างชัดเจน ทำให้ศาสนาพุทธมีลักษณะกลมกลืนกับวิถีวัฒนธรรมของชาวม้ง ส่วนศาสนาคริสต์มีแนวคิดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในหมู่ชาวม้งส่วนใหญ่ในเอเชียก็ยังคงนับถือศาสนาแบบดั้งเดิม บางส่วนได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธก็ได้นำความเชื่อดั้งเดิมไปผสมผสานเข้าด้วยกัน ในขณะที่ชาวม้งจำนวนหนึ่งในต่างประเทศ ได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์

References

คณะทำงานโครงการบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา (พระธรรมจาริก). (2544). สรุปการสัมมนาพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา (ธรรมจาริก) ครั้งที่ 1/2543. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

ชนัญญา พวงทอง และกฤตานนท์ ท้าววัฒนากุล. (2562). “การศึกษาเปรียบเทียบการออกเสียงคำศัพท์ในภาษาจีนกลางและภาษาม้ง”. วารสารมังรายสาร. 7(1), 37.

ดารณี พลอยจั่น. (2559). “ทุนทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าม้งกับกลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์”. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 4(1), 12.

ปนัดดา บุณยสาระนัย. (2544). กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์. เชียงใหม่: โชตนาพริ้น จำกัด.

ปัทมาพร เอี่ยมสังวาลย์. (2554). ความเชื่อเรื่องผีกับการรักษาความเจ็บป่วยของชาวม้ง: กรณีศึกษา หมู่บ้านเข็กน้อย อาเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. ศิลปศาสตรบัณฑิต. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา และรัตนา ด้วยดี. (2563). “ม้งโปรเตสแตนต์กับความทันสมัยในเมืองเชียงใหม่”. วารสารมานุษยวิทยา. 3(2), 102-103.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2564). โครงการวิจัย ศิวิไลซ์ข้ามพรมแดน : การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ข้ามชาติของชาวม้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. Retrieved 28 มกราคม 2564.http://www.cesd.soc.cmu.ac.th/wordpress/researches/researches_action/โครงการวิจัย-ศิวิไลซ์ข้

ปุณณดา ทรงอิทธิสุข และสุธิดา ทับทิมศร. (2561). “ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าสู่ตำนาน ในวิถีวัฒนธรรมชุมชนม้ง”. รายงานสืบเนื่องการประชุมระดับชาติ ครั้งที่ 5. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร, 16 กันยายน 2561.

พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

รัตนา ด้วยดี. (2560). ม้งคริสเตียนกับความทันสมัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันวิจัยชาวเขา. (2532). 30 ปีพระธรรมจาริก. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเผยแพร่พระพุทธศาสนาแก่ชนถิ่นกันดาร.

สมัย สุทธิธรรม และสมชาย แสงเดช. (2530). หนังสือสารคดีชุดคนบนดอย เรื่องม้งหรือแม้ว. กรุงเทพมหานคร: เลิฟ. แลนด์ลิพเพรส.

Hmongism.org. (2013). Bylaws of the Temple of Hmongism. (published March 3).Gary Y. Lee.

Nicholas Tapp. (2010). Culture and Customs of the Hmong. California: ABC-CLIO, LLC.

Tapp, N.. (2009). “Plologue” in Clarke, S. R. (author). Among the tribesin south-west China. (Caravan Press).

The College of St. Scholastica. (1996). “Hmong Americans”. Cultural Aspects of Healthcare. (The College of St. Scholastica).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29