การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อสืบสานศิลปะพื้นถิ่น

ผู้แต่ง

  • ภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระอธิวัฒน์ ธรรมวัฒน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ศิลปะ, การท่องเที่ยว, พิพิธภัณฑ์ชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1)  เพื่อสำรวจเส้นทางและแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาสำรวจความต้องการและความพึงพอใจของการท่องเที่ยวในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่  3) เพื่อพัฒนาภูมิทัศน์ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะชุมชนวัดท่าข้าม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และ 4) เพื่อจัดทำภูมิสารสนเทศการท่องเที่ยวในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ในพื้นที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

ผลการวิจัยพบว่า 1) เส้นทางและแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอฮอด จำนวน 20 แห่ง แบ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 10 แห่ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ จำนวน 10 แห่ง โรงแรมที่พักและจุดกางเต็นท์ 10 แห่ง และร้านอาหาร 10 ร้าน 2) ความต้องการและความพึงพอใจของการท่องเที่ยวในอำเภอฮอด อยู่ในระดับมาก 3) การก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะชุมชนวัดท่าข้าม โดยการปรับปรุงศาลาบาตรรอบหอระฆัง เพื่อสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะชุมชนเมืองฮอดพร้อมทั้งการจัดภูมิทัศน์โดยรอบ และ 4) การสร้างภูมิสารสนเทศการท่องเที่ยวในอำเภอฮอดเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และเป็นระบบสืบค้นข้อมูลให้กับนักท่องเที่ยว ในเว็บแอพพลิเคชั่น ประกอบด้วย ภาพถ่ายของแหล่งท่องเที่ยว แผนที่แสดงข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกบนแผนที่จาก Google Map ด้วยโปรแกรม Web Browser สามารถเข้าถึงได้จากโทรศัพท์สมาร์ทโฟน (Smart Phone) ในระบบปฏิบัติการ IOS และ Android ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ. (2012). “การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน”. Executive Journal. 32(4), 142.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

เจษฎา สุภาศรี. (2556). หอธรรมศิลป์ล้านนา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เบญจพล บุญญาภิสันท์ และ ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี. (2557). “การศึกษาแนวคิดและวิธีการจัดการพิพิธภัณฑ์และห้องแสดงศิลปะร่วมสมัยในจังหวัดเชียงใหม่”. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 : The 15th Graduate Research Conferences. ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 28 มีนาคม.

รุ้งกาญจน์ แสวงกาญจน์. (2551) ปัจจัยที่ตัดสินใจมาท่องเที่ยวและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีผลต่อการท่องเที่ยว ณ วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง. อยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วิรุจ ถิ่นนคร. “แนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อส่งเสริมคุณค่าและความสำคัญด้านมรดกทางวัฒนธรรม วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช สู่การเสนอชื่อเป็นแหล่งมรดกโลก”. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 64, 155 – 170.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28