การสังเคราะห์องค์ความรู้พุทธศิลปกรรมในล้านนา
คำสำคัญ:
พุทธศิลปกรรม, ประวัติศาสตร์ศิลป์, ล้านนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพุทธศิลปกรรมในล้านนา 2) เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางพุทธศิลปกรรมล้านนา แก่เยาวชน นิสิต นักศึกษา และชุมชน 8 จังหวัดภาคเหนือ และ 3) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้พุทธศิลปกรรมล้านนาเพื่อการส่งเสริมการศึกษาการพัฒนาคุณภาพศิลปะ และการสร้างเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาพุทธศิลปกรรมล้านนาในภาคเหนือตอนบน
ผลของการศึกษาพบว่า 1) ศิลปกรรมล้านนาได้รับอิทธิพลจากการเผยแผ่เข้ามาของพระพุทธศาสนาในแต่ละยุคดังนี้ ยุคที่ 1 พุทธศิลปกรรมล้านนาสมัยอาณาจักรหริภุญชัย ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 ยุคที่ 2 พุทธศิลปกรรมล้านนาสมัยอาณาจักรเชียงแสนñโยนก ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ยุคที่ 3 พุทธศิลปกรรมล้านนาสมัยอาณาจักรล้านนา ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 21 และยุคที่ 4 พุทธศิลปกรรมล้านนาสมัยปัจจุบัน นับตั้งแต่สมัยพม่าปกครอง ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 2) อัตลักษณ์ของพุทธศิลปกรรมล้านนามีรูปแบบและอัตลักษณ์ที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะหริภุญชัย มอญ พม่า จีนตอนใต้ สุโขทัย และล้านช้าง ทำให้มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว คือ ความวิจิตรงดงาม ความอ่อนช้อยของลวดลายและรูปทรง ความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน จนกระทั่งพัฒนาเป็นต้นแบบพุทธศิลป์ล้านนาในปัจจุบัน และ 3) การสังเคราะห์องค์ความรู้พุทธศิลป์ล้านนาแบบร่วมสมัย โดยจัดกิจกรรมถอดบทเรียนการเรียนรู้ศิลปะกับเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
References
ประทีป ชุมพล. (2539). “จิตรกรรมฝาผนังภาคกลาง: ศึกษากรณีความสัมพันธ์กับวรรณคดีและอิทธิพลที่มีความเชื่อประเพณีและวัฒนธรรม. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
พระครูอนุรักษ์บุรานันท์ (บุญชื่น ตธมฺโม). (2544). “ศึกษากระบวนการอนุรักษ์พุทธประติมากรรมหินทราย : กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี)”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. (2544). วิหารล้านนา. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.
วุฒิชัย สันธิ และวรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. (2556). การจัดการเส้นทางเรียนรู้ทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำกก จังหวัดเชียงราย, การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย”. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ วันที่ 10 พฤษภาคม.
สันติ เล็กสุขุม. (2538). ศิลปะเชียงแสน (ศิลปะล้านนา) และศิลปะสุโขทัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โบราณ.
สุรชัย จงจิตงาม. (2555). ล้านนา. นนทบุรี: อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิสซิ่ง.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2529). ประวัติศาสตร์ล้านนา. โครงการข้อสนเทศล้านนาคดีศึกษา : โครงการศูนย์ส่งเสริศิลปวัฒนธรรม: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.