การทำฉัตรล้านนาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ของชุมชนวัดกู่ม่าน ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระคติพล คมฺภีรปญฺโญ (อะทะเทพ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ฉัตรล้านนา, การพัฒนา, เศรษฐกิจฐานราก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการผลิตและการบริหารจัดการ การทำฉัตรล้านนาของชุมชนวัดกู่ม่าน 2) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนวัดกู่ม่าน 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนวัดกู่ม่าน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จากผู้เกี่ยวข้องในการทำฉัตรล้านนาของชุมชนวัดกู่ม่าน 

ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการผลิต และการบริหารจัดการ มีขั้นตอนการผลิตทั้งหมด 11 ขั้นตอน การบริหารมีทั้งหมด   4 ด้านคือ (1) บุคคลากร บริหารโดยยึดหลักความเสมอภาคและความสามารถ (2) งบประมาณ มีกลไกในการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (3) วัสดุ กำหนดความต้องการจากออเดอร์ แล้วจัดหาโดยผู้ทำหน้าที่เฉพาะเพื่อสะดวกในการควบคุมด้านปริมาณ และคุณภาพ มีการบำรุงรักษาโดยจัดเก็บไว้ในที่ปลอดภัย แยกเป็นประเภทเพื่อสะดวกต่อการใช้ และจำหน่ายออกเมื่อพัสดุเสื่อมสภาพ (4) การจัดการ บริหารโดยประธานกลุ่มและมอบหมายงานผ่านกลุ่มลูกศิษย์ซึ่ง สามารถตัดสินใจ รับงาน แบ่งงาน ประสานงานทั้งภายในและภายนอก 

 

2) การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างโอกาสและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเศรษฐกิจร่วมกับชุมชน มีลักษณะความร่วมมือในชุมชนท้องถิ่น มีรายได้ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ 

3) ปัญหาอุปสรรค ในการผลิตสมาชิกมีความชำนาญในขั้นตอนเดียวส่งผลให้งานหยุดชะงักและล่าช้า ด้านบุคคล มีปัญหาคุณภาพแรงงาน ปัญหาแรงงานสัมพันธ์ และปัญหาจริยธรรม ด้านงบประมาณ  มีปัญหาการควบคุมค่าใช้จ่าย และยังไม่เป็นมาตรฐาน ด้านพัสดุ สถานที่จัดเก็บคับแคบ ด้านการจัดการมีการกระบทกระทั่งของบุคลากร ตรวจงานไม่ละเอียดก่อนส่ง  และปัญหาด้านการพัฒนา ขาดการส่งเสริม และมีการเติบโตเพียงกลุ่มเล็กๆ กลุ่มเดียว จึงยังไม่สามารถพัฒนาให้ครอบคลุมได้ทั้งพื้นที่

 

References

กรกนก จรัสหิรัญปรีดา. (2553). ตัวแบบการจัดการเพื่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสยาม

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: เอ็กเปอเน็ต

จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ. (2541). การจัดการด้านปัจจัยในการบริหารงาน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช

เด่นศักดิ์ หอมหวล, ประยงค์ ศรีไพรสนท์, กานต์ วิรุณพันธ์. (2557). การพัฒนาประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเครื่องประดับ กรณีศึกษา: กลุ่มผู้ผลิตเครื่องประดับจากดินปั้นอำเภอเมือง จังหวัดตาก. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยชุมชนตาก

ถนัด เดชทรัพย์. (2550). การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยมจังหวัดสุโขทัย ตามหลักธรรมาธิบาล. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2558). การพฒันาเศรษฐกิจชุมชน Community Economic Development. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บัญชา อินทะกูล. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ วิสาหกิจชุมชนจังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืน. สถาบันวิจัยและพัฒนา : มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ปิยธิดา ตรีเดช และ ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช. (2536). การบริหารงานสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาณุพงศ์ สามารถ, เพ็ญศรี บางบอน และ ชาญณรงค์ นาเชียงใต้. (2554). การพัฒนาชุมชน แบบพึ่งตนเองบ้านหนองตาไก้ ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย. กรุงเทพมหานคร: สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์). (2559). คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐานราก”. กรุงเทพมหานคร: สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน และสำนักสื่อสารการพัฒนาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สมบัติ สมบูรณ์เทอดธนา. (2560). แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นให้แข็งแรงและยั่งยืนเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ กรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร: สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

อัญธิชา มั่นคง. (2560). บทบาทของทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. ลำปาง: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27