ศัลยกรรศัลยกรรม ศัลยกรรมตกแต่งเสศัลยกรรมตกแต่งเสริมความงามในมุมมองจริยศาสตร์ริมความงามในมุมมองจริยศาสตร์

ผู้แต่ง

  • นิติพงษ์ กุประดิษฐ์ -
  • พระวุฒิชัย มหาสทฺโท (เสียงใหญ่) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระอำนาจ พุทธอาสน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ธาวิษ ถนอมจิตศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ศัลยกรรมตกแต่งเสริมความงาม, มุมมอง, พุทธสุนทรียศาสตร์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ศัลยกรรมตกแต่งเสริมความงามในมุมมองพุทธสุนทรียศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทางพุทธสุนทรียศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดการศัลยกรรมตกแต่งเสริมความงาม 3) เพื่อวิเคราะห์เกณฑ์การตัดสินคุณค่าความงามทางพุทธสุนทรียศาสตร์ เป็นงานวิจัยคุณภาพ

ผลการวิจัย พบว่า 1)  ศัลยกรรมตกแต่ง คือ การผ่าตัดอวัยวะเพื่อรักษาหรือปรับปรุงรูปร่างของอวัยวะให้สวยงามและเหมาะสม ทำให้อวัยวะนั้น ๆ คงทำหน้าที่ได้ตามปกติ รวมทั้งเป็นการบูรณะส่วนที่ผิดปกติให้กลับสู่สภาพปกติด้วย สามารถแยกได้ว่า การทำศัลยกรรมแบบใดเป็นศัลยกรรมเสริมสร้าง และการทำศัลยกรรมแบบใดเป็นศัลยกรรมความงาม เป้าหมายหรือจุดประสงค์ ของผู้ที่ตัดสินใจเลือกทำศัลยกรรมส่วนใหญ่ คือ ต้องการเพิ่มความสวย ความงาม เพิ่มความมั่นใจและให้ความสำคัญกับบุคลิกภาพ

2) พุทธสุนทรียศาสตร์ คือ ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับความจริง หรือ แก่นแท้ ของคุณค่าทางสุนทรียะหรือความงาม ในศิลปะและวัตถุทางธรรมชาติ โดยอาศัยหลักการหรือแนวความคิดทางพุทธศาสนา 

 

3) เกณฑ์ในการตัดสินคุณค่าทางพุทธสุนทรียศาสตร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ (1) คุณค่าของความงามที่ถูกจัดให้เป็นไปในทางโลก กล่าวคือ ความงามของสิ่งที่เกิดขึ้นจากวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ตลอดถึงความงามของ รูปกาย เป็นความงามระดับโลกียะ หรือเรียกอีกอย่างเป็น สมมุติสัจจะ (2) คุณค่าที่เป็นคุณค่าระดับสูง อันเกิดจากผลของการกระทำอย่างเดียว การกระทำที่มีความพินิจพิจารณาแล้ว เป็นคุณค่าของความงามในระดับสูง คุณค่านี้เรียกว่า คุณค่าในขั้น ปรมัตสัจจะ เป็นคุณค่าความงามระดับสูงสุด เรียกอีกอย่างว่าความงามแห่งโลกุตระ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จงจิต พานิชกุล. (2556) “การศึกษาการศัลยกรรมความงามในมุมมองของพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธัญชนก สุขแสง. (2556). “ค่านิยมและอิทธิพลจากบุคคลที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจศัลยกรรมความงาม”. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พระมหาคชินท์ สุมงฺคโล (อินทร์มนตรี). (2549). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องสุนทรียศาสตร์บนจิตรกรรมฝาผนัง ในวัดสุทัศนเทพวราราม. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (ปรัชญา). บัณฑิตวิทยาลัย: สำนักพิมพ์ธรรมดา.

พระมหารังสันต์ กิตฺติปญฺโญ. (2553). “การศึกษาวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ในพุทธปรัชญาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สุพิชญา วัชรินทร์พร. (2555). “ปัจจัยทางการตลาดในการตัดสินใจทำ ศัลยกรรมเสริมความงามบนใบหน้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร”. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการการตลาด. บัณฑิตวิทยาลัย: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม.

อภิสรา รักวารินทร์ และคณะ. (27 พฤศจิกายน 2558). “จำเป็นแค่ไหน?” อยู่ยุคใหม่ ต้องสวยใสด้วยศัลยกรรม. สืบค้นเมื่อ (10 กันยายน 2560). แหล่งที่มา: https://theprototype.pim.ac.th/2015/11/27/make-up-hardcore/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26