รูปแบบการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของคณะสงฆ์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การพัฒนาพื้นที่, การพัฒนารูปแบบ, พื้นที่เชิงสร้างสรรค์, คณะสงฆ์อำเภอแม่แตงบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทการพัฒนาพื้นที่ของคณะสงฆ์อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของคณะสงฆ์อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของคณะสงฆ์อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการการวิจัยแบบผสานวิธี
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาพื้นที่ ส่วนมากอยู่ด้านการสาธารณสงเคราะห์อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.0.8, S.D. = 0.878) ส่วนของความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของคณะสงฆ์ โดยภาพรวม พบว่า ส่วนมากอยู่ในพื้นที่ทางกายภาพอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.05, S.D. = 0.758)
2) รูปแบบการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์นั้นมีทั้งหมด ๖ ด้าน (1) ด้านการปกครอง มีการยึดตามหลักพระธรรมวินัยและกฎหมายข้อบังคับอื่นๆ (2) ด้านศาสนศึกษา มีการสนับสนุนพระภิกษุสามเณรได้รับการศึกษาในพระปริยัติธรรมทั้งสามัญ นักธรรมและบาลี (3) ด้านการเผยแผ่ มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดประโยชน์ (4) ด้านสาธารณูปการ มีการขออนุญาตจัดสร้างศาสนวัตถุ ศาสนาสถานอย่างถูกต้องตามกฎระเบียน (5) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ มีการมอบทุนการศึกษาให้กับพระภิกษุ สามเณร (6) ด้านสาธารณะสงเคราะห์ มีการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน
3) การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ มี 4 พื้นที่ (1) พื้นที่เชิงสร้างสรรค์ทางกายภาพ พัฒนาพื้นที่ให้มีความสวยงาม สะอาด ร่มรื่น สอดแทรกความหมายตามหลักทางพระพุทธศาสนา (2) พื้นที่เชิงสร้างสรรค์ทางการเรียนรู้ เช่น แหล่งสมุนไพร ห้องสมุดในวัด (3) พื้นที่เชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม จัดพื้นที่ภายในวัดให้เป็นแหล่งสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม (4) พื้นที่เชิงสร้างสรรค์ทางจิตใจและวิญญาณ จัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำตำบล
References
ลภัสรดา สหัสสพาศน์และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2561). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการพื้นที่สร้างสรรค์จังหวัดเพชรบุรี ตามบริบทสังคมประเทศไทย 4.0. สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พีรดร แก้วลาย และทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า. (2559). เมืองสร้างสรรค์: แนวทางการพัฒนา เมืองจาก สินทรัพย์สร้างสรรค์ท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยพัฒนาการ ปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.
ขัตติพงษ์ ด้วงสำราญ. (2562). การออกแบบพื้นที่สร้างสรรค์ : กรณีศึกษามหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย. มจร พุทธปัญญาปริทรรศน. 4(2), 254.
เกียรติศักดิ์ ลำพองชาติ. (2563). ทักษะการทำงานในโลกยุคดิจิทัล. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 10(4), 2-4.
จิรัฐฏ์ ปรัชญาแก้วไสล. (2563). แนวทางการพัฒนาพื้นที่ว่างใต้ทางด่วนเพื่อประโยชน์สาธารณะกรณีศึกษา : ทางด่วนฉลองรัช (บริเวณบึงพระราม 9). วารสารสาระศาสตร์. 3(4), 949.
พระมหาธฤติ รุ่งชัยวิทูร. (2557). รูปแบบการพัฒนาพระสังฆาธิการเพื่อประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์. วารสารบัณฑิตศึกษา. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 3(1), 65-66.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.