ความเชื่อและอานิสงส์การตักบาตรเที่ยงคืน ของวัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระสิทธิพงษ์ วิสุทฺธิวํโส -
  • โผน นามณี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

พิธีกรรม, ความเชื่อ, การตักบาตรเที่ยงคืน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมการตักบาตรเที่ยงคืน
2) เพื่อศึกษาความเชื่อและอานิสงส์การตักบาตรเที่ยงคืน 3) เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์การตักบาตรเที่ยงคืนของวัดในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่  โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง  ประกอบด้วย เจ้าอาวาส มัคนายก ผู้จัดพิธีกรรมการตักบาตรเที่ยงคืน พระภิกษุสงฆ์ที่ออกบิณฑบาต ประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมพิธีกรรมการตักบาตรเที่ยงคืน และผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา รวมทั้งหมด 21 รูป/คน ในเขต อำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา 

ผลการวิจัยพบว่า 1) พิธีกรรมการตักบาตรเที่ยงคืน  มาจากคัมภีร์สมันตปาสาทิกา และคัมภีร์อโศกาวทาน เรื่องพระอุปคุต ว่าเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ ในครั้งที่พระเจ้าอโศกได้อาราธนามาคุ้มครองงานสมโภชสถูป พระเจ้าอโศกได้เสด็จลงน้ำอัญเชิญพระอุปคุตขึ้นมาบนฝั่ง จึงเป็นที่มาของการอัญเชิญพระอุปคุตขึ้นจากน้ำเพื่อมาเป็นองค์ประธานในพิธีกรรมตักบาตรเที่ยงคืน

2)  ความเชื่อและอานิสงส์การตักบาตรเที่ยงคืน เชื่อว่าพระอุปคุตเป็นพระอรหันต์ที่ทรงอิทธิฤทธิ์และเชื่อว่าท่านยังไม่นิพพานมีสภาวะเป็นทิพย์ ถ้าได้ตักบาตรกับพระอุปคุตแล้วจะทำให้เกิดอานิสงส์คือประสบความสำเร็จตามที่ตนปรารถนา

3) แนวทางการอนุรักษ์การตักบาตรเที่ยงคืน ได้มีการประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสาร โดยใช้สื่อมัลติมีเดียเข้ามาประกอบซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ที่สามารถให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว

References

เจริญ ตันมหาพราน. (2563). พิธีกรรมพิศดาร. กรุงเทพมหานคร: แสงแดด.

นันพล คงพันธ์. (2564). พิธีกรรมทางศาสนากับการปฏิบัติตนนิสิตสังคมศึกษายุคโลกาภิวัฒน์. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 6(2), 212.

พระครูสุมณฑ์ธรรมธาดา (สายัณ จนฺทวํโส , บวบขม). (2563). บูรณาการองค์ความรู้และวิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา กับการพัฒนาสังคมในอาเซียน. บัณฑิตศึกษาปริทรรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8(2), 37.

พระเทพโพธิวิเทศ, (2556). วิสาขามหาอุบาสิกา. กรุงเทพมหานคร : ดี เอ็ม วี.

พระบุญนาค อติพโล (กิจเกษม). (2556). ความเชื่อเรื่องพระอุปคุตในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑติวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวิทญ์ ธมฺมวโร. (2561). วิเคราะห์คติเชิงปรัชญาที่ปรากฏในเรื่องพระอุปคุต. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิชาติ ยอดสุวรรณ. (2553). ศึกษาความเชื่อเรื่องพระอุปคุตในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Malalasekera. (1978). Dictionary of Pali proper names Vol.l. New Delhi : Munshiram Manoharlal Publishers Pvt. Ltd.,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31