ภาวะผู้นำทางปัญญาในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม ของมโหสถบัณฑิตในมโหสถชาดก

ผู้แต่ง

  • พระถวิล ถิรจิตฺโต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • โผน นามณี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระมหาวิเศษ ปญฺาวชิโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

ปัญญา 3, ความขัดแย้ง, มโหสถชาดก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำทางปัญญาในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมของมโหสถบัณฑิตในมโหสถชาดก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา รวมไปถึงเอกสารงานวิจัย เอกสาร ตำราและผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง กับภาวะผู้นำในพุทธปรัชญาเถรวาท ความขัดแย้งในพุทธปรัชญาเถรวาท และมโหสถบัณฑิตในมโหสถชาดก

ผลการวิจัยพบว่า 1)  ภาวะผู้นำทางปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท โดยใช้หลักปัญญา 3 ประการ ประกอบด้วย (1) สุตมยปัญญา ปัญญาได้จากฟังข้อมูลเพื่อประกอบพิจารณา (2) จินตามยปัญญา ปัญญาได้จากการคิดวิเคราะห์ตรึกตรองความเป็นเหตุเป็นผล (3) ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่ได้จากการเจริญสติพิจารณา

2) การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมในพุทธปรัชญาเถรวาท ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมทางพระพุทธศาสนานั้นมีมูลเหตุมาจาก ปปัญจธรรม ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า มีตัณหา ทิฏฐิ มานะ เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความขัดแย้ง ส่วนการขัดแย้งในสังคมมี 5 ประการ (1) ความขัดแย้งด้านข้อมูล (2) ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์และความต้องการ (3) ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์  (4) ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง (5) ความขัดแย้งด้านคุณค่าหรือค่า

3) ภาวะผู้นำทางปัญญาในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมของมโหสถบัณฑิตในมโหสถชาดก มโหสถบัณฑิตได้ใช้หลักหลักปัญญา 3 ประการ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม ในการรับฟังในข้อมูลคดีที่ถูกต้อง การคิดวิเคราะห์ในสิ่งที่สมเหตุสมผล และการพิจารณาตามหลักความเป็นจริง

References

กวี วงศ์พุฒ. (2539). ภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เสริมวิชาชีพบัญชี.

ปกรณ์ ศรีประหลาด. (2553). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในพระพุทธศาสนาเถรวาท : กรณีศึกษามโหสถชาดก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรนพ พุกกะพันธ์. (2542). การบริหารความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร : ว.เพ็ชรสกุล.

พระครูสิริจันทนิวิฐ (บุญจันทร์ เขมกาโม). (2549). ภาวะผู้นำเชิงพุทธ. กรุงเทพมหานคร : นิติธรรมการพิมพ์.

พระเทพปริยัติเมธี (สฤษดิ์ สิริธโร). (2553). ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2546). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก.

________.(2546). สลายความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).

พระมหารุ่งโรจน์ ธมฺมฎฺฐิเมธี (ศิริพันธ์). (2550). การศึกษาวิเคราะห์ หลักภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเลอเดช วรวํโส (วงศ์ศรีชา). (2549). การศึกษาวิเคราะห์ปัญญาบารมีของ

พระมโหสถ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2548). รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี : ศึกษาวิเคราะห์กรณีลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 32). กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.

Christopher Moor. (1996). The Mediation Process: Practical Strategic for Resolving Conflict. (2nd ed). San Francisco. CA : Jossey-Bass Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30