การสร้างต้นแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • ณฤณีย์ ศรีสุข มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • พระอธิการสุชาติ จนฺทสโร (สายโรจน์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คำสำคัญ:

การสร้างต้นแบบ, พิพิธภัณฑ์ชุมชน, ระบบอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อสร้างแอพพลิเคชั่นพิพิธภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์น (2) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและ (3) เพื่อเสนอต้นแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  จำนวน 25 รูป/คน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 

ผลการวิจัยพบว่า 1)  การสร้างแอพพลิเคชั่นพิพิธภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์มีวิธีการสร้าง 9 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาความต้องการของแอพพลิเคชั่น (2) การเตรียมเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมหลัก (3) การเตรียมแฟ้ม app.json ซึ่งเป็นข้อกำหนดแอพพลิเคชั่น แต่ละ release (4) การเตรียมแฟ้ม App.js (5) การติดตั้งและสั่งประมวลผล (6) การส่งผลงานขึ้นไปยัง expo.io (7) การเข้าไปในเว็ปไซต์ expo.io (8) การเตรียมภาพสำหรับประกอบการพัฒนาแอพพลิเคชั่นใน Store และ (9) การเข้าไปสมัครใช้งาน google developer account

2) การพัฒนาระบบและเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยจัดทำรูปแบบทะเบียนโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมาพัฒนาระบบและเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่อไปตามลำดับ แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ (2) การจัดทำระบบโดยมีการสร้าง QR Code และ (3) การพัฒนาระบบและเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยการจัดทำเว็ปไซต์พิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ 

3) ได้เสนอต้นแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยจัดทำระบบข้อมูลโบราณวัตถุทั้งหมด 90 ชิ้น จากวัดทั้ง 3 วัด วัดละ 30 ชิ้น เพื่อนำมาจัดทำพิพิธภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 1) มีการจัดทำ OR Code 2) มีการสร้างแอพพลิเคชั่น และ 3) มีการจัดทำเว็ปไซต์พิพิธภัณฑ์ชุมชน 

References

ฉลาด จันทรสมบัติ. (2548). “การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ขององค์กรชุมชน”. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (1 สิงหาคม 2548). สะท้อนภูมิปัญญาพื้นบ้านผ่านพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น. (วาไรตี้ท่องเที่ยว).สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564. แหล่งที่มา https://mgronline.com/travel/detail/9480000102926

พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท (รุจิเวทย์). (2557). “การพัฒนารูปแบบการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27