รูปแบบการพัฒนางานจิตสาธารณะของเด็กเยาวชนโรงเรียนวิถีพุทธเชิงพุทธบูรณาการในจังหวัดนครราชสีมา
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนางานจิตสาธารณะตามหลักพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนางานจิตสาธารณะของเด็กเยาวชนโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนางานจิตสาธารณะของเด็กเยาวชนโรงเรียนวิถีพุทธเชิงพุทธบูรณาการในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และในภาคสนาม ดำเนินการด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาของเด็กเยาวชนโรงเรียนวิถีพุทธ เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะด้วย พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และสังคหวัตถุ คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา
2) สภาพปัญหาของเด็กเยาวชนส่วนใหญ่ยังขาดจิตสาธารณะ นักเรียนส่วนใหญ่แสดงความสนใจและให้ความสำคัญกับการเลือกปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองมากกว่าส่งผลให้ประชาชนเกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้ง 4 ด้านหลัก ๆ เช่น ปัญหาทางกาย คือ การเห็นแก่ตัว ไม่รู้จักให้ และไม่รู้จักแบ่งปัน และปัญหาด้านจิตใจ เช่น การขาดความมีน้ำใจน้อยลง ในจิตอาสาของเยาวชนในสมัยปัจจุบัน และการเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่น้อยลง เป็นต้น และปัญหาด้านความคิดสติปัญญา เช่น ไม่เห็นความสำคัญในการช่วยเหลือผู้อื่น ปัญหาด้านความคิด เป็นต้น และปัญหาสังคม เช่น การขาดศีลธรรม และคณะครูดูแลไม่ทั่วถึง ชุมชนไม่เข้มแข็งพอ
3) รูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะของเด็กเยาวชนโรงเรียนวิธีพุทธเชิงพุทธบูรณาการในจังหวัดนครราชสีมา โดยการอบรมปลูกฝังให้เยาวชนมีหัวใจการทำงานจิตสาธารณะโดยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และส่งเสริมพัฒนาให้เด็กเยาวชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมโดยการการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เกื้อกูลสังคม
References
กนกวรรณ เงาชัยภูมิ. (2561). การศึกษาแนวคิดและกลวิธีการนำเสนอในงานวรรณกรรมสำหรับเยาวชน เรื่อง ครุฑน้อย. วารสารปัญญา.25. (2) .19
นิรมล เตียงพิทยากร. (2560). “รูปแบบการส่งเสริมรักษาศีล ๕ สำหลับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นางสาวชนิกานต์ ปัททุม. (2561). พฤติกรรมการมีจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์. การวิจัยรายบุคคล ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นงนุช จิตตะเสโณม อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2560). “อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสงขลากับการพัฒนาชุมชน”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
บรรทม มณีโชติ, (2559). “การศึกษารูปแบบของข้อคำถามวัดลักษณะนิสัยด้านความเสียสละชนิดข้อความและชนิดสถานการณ์ที่มีผลต่อคุณภาพของแบบสอบถาม”. ปริญญานิพนธ์ กศม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระปลัดนพดล หฏฺฐมโน (พลายแก้ว). (2556). การพัฒนาเด็กตามหลักภาวนา 4 : กรณีศึกษา ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ วัดทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอนันต์ อภินนฺโท. (2563) . การปฏิบัติตามหลักวัตตบท 7 เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต. วารสารวิชาการ. มจร บุรีรัมย์.5 (2) . 160.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.