แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • พระอนันต์ อภินนฺโท (ผากา) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • พระมหาสุพร รกฺขิตธมฺโม มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • เบญจมาศ สุวรรณวงศ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน 2) ศึกษาสภาพปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน 3) แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน

ผลการวิจัยพบว่า

1) สภาพการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน การเผยแผ่เนื้อหาธรรมะไม่ถูกต้อง ไม่ทันสมัย ไม่มีความชำนาญในการเผยแผ่ เจตนาของการสื่อสารไม่เด่นชัด และรูปแบบไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะกับสมณสารูป และไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ซึ่งองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารนั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะรูปแบบจะสมบูรณ์หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ ผู้ส่งสาร สาร ช่องทาง และ ผู้รับสาร ซึ่งบางครั้งไม่ได้ใช้สื่อให้เป็นประโยชน์   2) สภาพปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน  เช่น ละเลยการทำกิจวัตร ซึ่งมีผลต่อความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนควรมีการปรับปรุง ได้แก่ 1.ขาดความรู้ในหลักธรรม 2.ปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม 3.ปัญหาด้านพระสงฆ์ไม่เข้าใจการใช้เทคโนโลยี 4. ไม่มีความทันสมัยยังยึดแบบเดิม 5. ความเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม 6. ปัญหาการด้านความไม่สะดวกของการเผยแผ่ในสถานการณ์ปัจจุบัน 3) แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน 1. การนำเสนอเนื้อหาของสื่อ คือ เจตนาต้องเด่นชัด  รูปแบบโดนใจ และ  เนื้อหาโดดเด่น 2. ตระหนักรู้ถึงผลที่จะตามมา 3. คณะสงฆ์และหน่วยงานที่มีส่วนร่วม 4. การประชาสัมพันธ์ และ 5. การประเมินและวัดผล  ดังนั้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกเพื่อเกิดประโยชน์ในสังคมปัจจุบัน

คำสำคัญ : แนวทาง, สื่อออนไลน์ ,พระสงฆ์,การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

References

ทัศนีย์ เจนวิถีสุข. (2554). การสื่อสารเชิงพุทธกับการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธนัชกร กีรติเสถียร. (2550). ศึกษาการใช้วาจาสร้างสรรค์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นางสาวพัชรินทร์ อินมาส. (2559). การศึกษาสภาพการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการศึกษาของนักเรียนจังหวัดนครสีธรรมราช .รายงานวิจัย. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม: มหาลัยราชภัฏนครสีธรรมราช.

พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร, (2546). บทบาทด้านการบริหารของพระพุทธเจ้า. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตโต).(2564). โควิทกถา รวมเทศนาในสถานการณ์โควิด. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน).

พระมหาบุญไทย ปุญญมโน. ( 25 กรกฏาคม 2562). พัฒนาการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากมุขปาฐะถึงโลกไซเบอร์. พระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์. DMC Online วัดธรรมกาย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=24789

พระอนันต์ อภินนฺโท (ผากา) . (2562). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ตามหลักพุทธวิธี. สารนิพนธ์พุทธศาสตร ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วราพร ดำจับ. (2562) . สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาลัยแม่โจ้. 7(2).143.

วศิน อินทสระ. (2558). การเผยแผ่ศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมศักดิ์ บุญปู่. (2506). พระสงฆ์กับการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2545.

แสง จันทร์งาม. (2535). พุทธศาสนวิทยา. กรุงเทพมหานคร: บรรณาคาร.

อุทัย ดุลเกษม และคณะ. (2550). ระบบการศึกษากับชุมชน4: กรอบความคิดและข้อเสนอเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อุบล วุฒิพรโสภณ. (2561). พระสงฆ์กับการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีในยุค4.0. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและวิจัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 1(2): 131.

แอนโทนี จี.วิลเฮม (เอกพงษ์ ตั้งศรีสงวน แปล). (2549).ประชาชาติยุคดิจิตอล. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (วีรพล วีรญาโณ). (2 เมษายน 2564) . สัมภาษณ์.

พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์, ศ.ดร.. พระมหานภันต์ สนฺติภทฺโท. พระมหาอดิศักดิ์ อภิปญฺโญ.พระครูปลัดบัณฑิต อินฺทเมธี, ผศ.มานิตย์ อรรคชาติ, ผศ.ดร.อนุจิตร ชิณสาร, ดร.กรรณิการ์ ขาวเงิน, ดร.สิขเรศ ศิรากานต์, พันโท สุธี สุขสากล, (9 กุมภาพันธ์ 2565). สนทนากลุ่ม.

พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ, (19 พฤษภาคม 2564). สัมภาษณ์.

พระราชธรรมนิเทศ (หลวงพ่อพยอม กลฺยาโณ). (5 กุมภาพันธ์ 2565). เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี. สัมภาษณ์.

พระเมธีวชิโรดม (ว. วชิรเมธี). (1 เมษายน 2564). ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย. สัมภาษณ์

พันโท สุธี สุขสากล. (9 กุมภาพันธ์ 2565). สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26