การศึกษาประสิทธิภาพการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ด้วยการไกล่เกลี่ยของสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • เกรียงศักดิ์ เตียเจริญวรรธน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • พิพัฒน์ วิถี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การไกลเกลี่ย, ความขัดแย้ง, สมานฉันท์, สำนักงานเทศบาลเมืองที

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาสภาพปัญหาความขัดแย้งของชุมชน และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ด้วยการไกล่เกลี่ยของสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีกลุ่มตัวอย่างที่จำนวน 334 คน และผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 10 คน ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครงเป็นเครื่องการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์รายบุคคลและกิจกรรมสนทนากลุ่ม มีตัวแปร 2 ตัว คือ ตัวแปรต้น ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานของผู้ให้ข้อมูล  และตัวแปรตาม  ได้แก่ ประสิทธิภาพการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ด้วยการไกล่เกลี่ยของสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองที ใช้สถิติพื้นฐานและสถิติเปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคม 

ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาอุปสรรคการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ด้วยการไกล่เกลี่ยจำแนกตามตัวแปรมีแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ประสิทธิภาพในการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ด้วยการไกล่เกลี่ยโดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.03 S.D. 0.287)  สามารถจำแนกเป็นรายข้อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.30 S.D. 0.234) ด้านการให้บริการอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.98 S.D. 0.290) ด้านการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.81 S.D. 0.448)

References

กรุณา มธุลาภรังสรรค์. (2560). ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์. สมุทรสาคร : ยุ้ย COPY.

กลุ่มงานบริการวิชาการ 3 สำนักวิชาการ. (2556). การสร้างความปรองดอง : แสงสว่างส่องนําทางสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

เกื้อ กระแสโสม. (2554). เอกสารประกอบการเรียนรู้วิชาการวิจัยทางการศึกษา 1045421 (Educational Research). สุรินทร์ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ธนัสถา โรจนตระกูล. (2562). การจัดการความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์”. ในวารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 6(2), 71.

รัฐพล เย็นใจมาและสุรพล สุยะพรหม. (2561). “ความขัดแย้งในสังคม : ทฤษฎีและแนวทางแก้ไข”. ในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 7 (2), 224.

เรียวรุ้ง บุญเกิด. (2557). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : กรณีศึกษาสำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พงษ์ธวัฒน์ บุญพิทักษ์ (2562). การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 20 ตรี. กรุงเทพมหานคร : สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

พรธิตา สุขสำราญ. (2562). ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ. เข้าถึงได้ [Online] http://1ab.in/xWE สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563.

สุรชัย (ฟูอ๊าด) ไวยวรรณจิตรและคณะ. (2559). การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า : กรุงเทพมหานคร.

สุรศักดิ์ ศรีสารและยุวรี ผลพันธิน. (2560). “การพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชน”. ในวารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn Universityฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(1), 1959.

ศักดิ์ชาย สุนทรธนาภิรมย์. (2560). “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการระงับข้อพิพาทในชุมชน: ศึกษาชุมชนหมู่ 7 ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม”. ในวารสารการเมืองการปกครอง Journal of Politics and Governance. 7(2), 161.

ศรวิชา กฤตาธิการและไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2560). “ข้อเสนอเชิงนโยบายยุติธรรมชุมชนเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ของชุมชนอย่างยั่งยืน”. ในวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9(2), 112.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2556). “การจัดการความขัดแย้งเพื่อสร้างความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ของชุมชนควนโส”. ในวารสารวิจัยสังคม. 36(2), 70-71.

Sotheb Soontornbhesaj. (1997). Contemporary Sociological Theory. Basic concepts of social and cultural theory. Chiang Mai : Kobe Vision Public Company Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25