การศึกษาแนวทางในการป้องกันพฤติกรรมรุนแรงโดยใช้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ตาก

ผู้แต่ง

  • สุรนที เกียงเกษร โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • กัญญ์ฐิตา ศรีภา โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

การประยุกต์ใช้หลักธรรม, พฤติกรรมรุนแรงของนักศึกษา, การป้องกันแก้ไขความรุนแรง

บทคัดย่อ

 บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการตระหนักรู้พฤติกรรมรุนแรง ทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมรุนแรง และทักษะการควบคุมพฤติกรรมรุนแรงของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาสาเหตุและผลกระทบของพฤติกรรมรุนแรงของนักศึกษา 3) เพื่อค้นหาแนวทางในการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาเพื่อป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมรุนแรงของนักศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ตาก จำนวน 335 คน

 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาตระหนักรู้พฤติกรรมรุนแรงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ x̄ = 3.78) โดยค่าเฉลี่ยมากสุดคือ นักศึกษาจะรู้ตัวทันทีเมื่อเริ่มมีอารมณ์
เสีย ( x̄x̄ = 4.18) ส่วนทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมรุนแรงในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x̄x̄ = 2.49) โดยค่าเฉลี่ยมากสุดคือ นักศึกษาเห็นว่าเมื่อถูกทำร้ายจะโต้ตอบทันที
( x̄x̄ = 3.46) และทักษะการควบคุมพฤติกรรมรุนแรงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
( x̄x̄ = 3.65) โดยค่าเฉลี่ยมากสุดคือ นักศึกษาเรียนรู้ที่จะให้เกียรติและเคารพสิทธิของผู้อื่น (  x̄x̄= 4.11) 2) สาเหตุของพฤติกรรมรุนแรงเกิดจากปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมทางสังคม สถานการณ์ และวัฒนธรรมความเชื่อ โดยเกิดผลกระทบทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม 3) แนวทางประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาเพื่อป้องกันแก้ไขพฤติกรรมรุนแรง ได้แก่ การปฐมนิเทศปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษาใหม่ นำหลักธรรมทางพุทธศาสนาสอดแทรกในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป สอดแทรกหลักคุณธรรมพื้นฐานในทุกรายวิชา ปรับรูปแบบการสอนที่สอดแทรกหลักธรรมโดยพิจารณาให้เหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ และจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาความเป็นมนุษย์และเตรียมพร้อมสู่การใช้ชีวิตการทำงานในอนาคต ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยควรกำหนดนโยบายและกิจกรรมที่ชัดเจนในการดำเนินการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

References

แก้ว ชิดตะขบ. (2547). รวมวิชาธรรมศึกษาชั้นตรี (ตามหลักสูตรของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ. 2546). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.

คมชัดลึก. (19 ธันวาคม 2562). สลด ม.1 ขโมยปืนพ่อ ยิงเพื่อนร่วมชั้น ดับคาโรงเรียน สุดแค้นถูกแกล้ง-ล้อว่าตุ๊ด. คมชัดลึก, สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/news/local/405261.

จเร นะราชา. (2560). รายงานผลการดำเนินงานจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2560.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2533). ท้าทายทางเลือก : ความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรง. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ.

บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์. (8 กันยายน 2562). อดีตอธิบดี กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1674370.

ปราชญา กล้าผจญ. (2548). คุณธรรมจริยธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ.

พนม เกตุมาน. (13 มิถุนายน 2564). พัฒนาการวัยรุ่น. สืบค้นจาก https://www.psyclin.co.th/new_page_56.htm.

พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ และนิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. (2553). การสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2520). จากหนังสือ นวโกวาท (ฉบับประชาชน).

สุขภาพคนไทย. (2564, 12 พฤษภาคม). วัยรุ่นและเยาวชน กับสื่อสังคมออนไลน์. สืบค้นจาก

https://www.thaihealthreport.com/article-july03-2020.

สูติรัตน์ พีรยาวิจิตร และประยงค์ แสนบุราณ. (2562). การนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราในสังคมไทย. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ 26(1), 390.

เสกสัน เครือคำ. (2558). อาชญากรรม อาชญาวิทยา และงานยุติธรรมทางอาญา. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.

อรอุมา วชิรประดิษฐพร. (2555). สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนกับมาตรการแก้ไขในเชิงรุก. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.

อุษา ภัติศิริ. (2564, 27 พฤษภาคม). ปัญหาความรุนแรงและผลกระทบจากความรุนแรงในวัยรุ่น.สืบค้นจาก https://www.trangis.com/kruuza/4_4.html.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Sripa, K., Glubwila, S., and Thummaphan, P. (2021). Pathways, Situations, and Factors Associated with Youth Violence in Educational Settings. The Journal of Behavioral Science. 16(1), 87-102.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-24