หุ้นส่วนทางสังคม, องค์การบริหาร รูปแบบที่เหมาะสมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในการหนุนเสริมขับเคลื่อนหุ้นส่วนทางสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : หุ้นส่วนทางสังคม, องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่, การป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาบทบาทการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในการทำหน้าที่หนุนเสริมขับเคลื่อนหุ้นส่วนทางสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในการหนุนเสริมขับเคลื่อนหุ้นส่วนทางสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ตัวแทนหรือผู้นำกลุ่มจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ในจังหวัดเชียงใหม่
ผลการศึกษาพบว่า 1) บทบาทองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการบูรณาการขับเคลื่อนเครือข่ายหุ้นส่วนทางสังคมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันของ โดยการเปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าทำหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการและศูนย์ข้อมูลข่าวสารของจังหวัดเชียงใหม่ จัดประชุมเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ สร้างความร่วมมือกับท้องถิ่นในการจัดการและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันอย่างยั่งยืน มีการสนับสนุนด้านงบประมาณ บุคลากร และสถานที่ มีการวางแผนมีการทำงานอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้
มีการจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับฝุ่นควันทุกปี ทั้งนี้ยังได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดโครงการสัมมนาทางวิชาการ โครงการฝึกอบรม รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว
2) รูปแบบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาฝุ่นควัน คือ เน้นการบริหารจัดการที่สร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคมให้มากขึ้น มีการหนุนเสริมและขับเคลื่อนหุ้นส่วนทางสังคม โดยบูรณาการกับภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพหลักและเป็นหน่วยงานประสานงานให้กับท้องถิ่น และมีการสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากร และสถานที่ อย่างต่อเนื่อง
References
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2563). รายงานการเกิดไฟป่าและจุดความร้อนของแต่ละภาคในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หัวข้อการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันอย่างยั่งยืน 21 พฤษภาคม สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 จังหวัดเชียงใหม่ http://newweb.mnre.go.th/th/news/detail/60889
ณัฐกร วิทิตานนท์. (2555). (20 มีนาคม). การกระจายอำนาจที่ไม่เพียงพอ: บทเรียนจากวิกฤติฝุ่นควันภาคเหนือตอนบน. ประชาไท. แหล่งที่มา http://prachatai.com/ journal/2012/0339739.
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
รสสุคนธ์ วงค์แสนคำ. (2550). การจัดการมลพิษทางอากาศของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภัคจารีย์ เชื้อยัง. (2553). บทบาทขององค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้วและประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่.(2562). แผนพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2561- 2564) เพิ่มเติมครั้งที่ 6 ประจำปีงบประมาณ 2562. อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. (2563). เวปไซด์ประชาสัมพันธ์องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. แหล่งที่มา. https://l.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Fwww.chiangmaipao.go.th Cohen, A. R. & Uphoff, N. 1980. Effective behavior in organizations. New York : Richard D. Irwin Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.