แนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม : กรณีศึกษาผู้สูงอายุบ้านศรีบัวเงิน ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระโสภรัณญวิช ภูริวฑฺฒวโร (พรแจ้) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระวิทวัส ปภสฺสรญาโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • เทพประวิณ จันทร์แรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิโรจน์ วิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การสร้างเสริม, สุขภาวะ, ผู้สูงอายุ, หลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

บทความการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุบ้านศรีบัวเงิน ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะตามหลักพุทธธรรมของผู้สูงอายุบ้านศรีบัวเงิน ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะตามหลักพุทธธรรมของผู้สูงอายุบ้านศรีบัวเงิน ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะตามหลักพุทธธรรมของผู้สูงอายุบ้านศรีบัวเงิน ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ต้องมีฐานคิด ทุนสังคม และศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุเพื่อสร้างชุมชนจัดการตนเอง คือ การมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ แก้ไขปัญหาโดยใช้ภาคีเครือข่าย สร้างความมีจิตสาธารณะ เพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพ พัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะชุมชน จัดระบบบริการสุขภาพ จัดตั้งกองทุน/สวัสดิการและนำใช้ข้อมูลตำบลมาพัฒนางานอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุของชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง ใช้ระบบฐานข้อมูลตำบล บูรณาการทุนและศักยภาพทางสังคมภายในและภายนอกพื้นที่ เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพความเป็นอยู่ และการพึ่งพาตนเอง ดูแลผู้ที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุและผู้สูงอายุ โดยเน้น 4 มิติ คือ (1) การดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (2) การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุด้านการเรียนรู้สัมมาอาชีพ (3) การเตรียมความพร้อมก่อนวัยผู้สูงอายุ และ (4) การจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ควรนำลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุทั้งสี่ด้าน 

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2544). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 - 2554. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

ชูชีพ เบียดนอก. (2559). “การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 8(1), 49.

ประเวศ วะสี. (2552). บนเส้นทางใหม่ การส่งเสริมสุขภาพ อภิวัฒน์ชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน.

มณีรัตน์ กุลวงษ์. (2549). “รูปแบบการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียนบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์”. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).

วริยา จันทร์ขำ และคณะ. (2558) “รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี”. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 7(3), 22-41.

วโรทัย โกศลพิศิษฐ์. (2550). หนี้สินของเกษตรกรในชนบทไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:http://www.fpo.go.th/S-I/Source/Article/Article66.htm [27 กรกฎาคม 2560].

วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2553). ภาพรวมประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ในการทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2545 - 2550. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).

ศากุล ช่างไม้. (2550). ตามรอยพระบาทประชาราษฎร์เศรษฐกิจพอเพียง. มหาสารคาม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2550). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

Palank. (1991). Determinants of health-promotive behavior : A review of current research. The Nursing Clinics of North America.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27