วิเคราะห์แนวคิดเรื่องจักรวาลวิทยาที่ปรากฏในการวางผังของวัดในล้านนา

ผู้แต่ง

  • ชุติมา สุคัณธสิริกุล
  • เทพประวิณ จันทร์แรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิโรจน์ อินทนนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

จักรวาลวิทยา, การวางผังวัด, วัดในล้านนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องจักรวาลวิทยาในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดการวางผังของวัดในล้านนา 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องจักรวาลวิทยาที่ปรากฏในการวางผังของวัดในล้านนา โดยการวิจัยดังกล่าวเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกพระสงฆ์ระดับเจ้าอาวาส นักวิชาการ และปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แล้วนำเสนอในเชิงพรรณนา 

ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวคิดเรื่องจักรวาลวิทยาในพระพุทธศาสนา ได้รับแนวคิดมาจากศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู แล้วนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา 2) สำหรับการวางผังของวัดในล้านนา ถ้าเป็นวัดหลวง จะมีลักษณะการวางผังวัดที่ใช้แนวคิดเรื่องจักรวาลวิทยาที่ชัดเจน โดยรูปแบบการวางประกอบด้วย องค์พระธาตุเจดีย์ วิหาร สำคัญมากที่สุด มีวิหารตั้งอยู่ตรงจุดศูนย์กลางของวัด และเรียงตัวอาคารตามแนวแกนทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก ส่วนวัดราษฎร์มีลักษณะการวางผังวัดที่เน้นการใช้สอยมากกว่า ให้ความสำคัญกับวิหารมากกว่า 3) การวางผังแสดงให้เห็นถึงความหมายในเชิงสัญลักษณ์ขององค์ประกอบในวัด เรียกว่า พระรัตนตรัยในล้านนา หรือข่วงแก้วทั้งสาม ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กล่าวคือ มีวิหารเปรียบได้กับตัวแทนของพระพุทธเจ้า มีหอธรรมเปรียบได้กับตัวแทนของพระธรรม และมีกุฏิสงฆ์เปรียบได้กับตัวแทนของ
พระสงฆ์ อย่างไรก็ตาม การวางผังวัดทั้ง 2 ประเภทของล้านนา อันได้แก่ วัดหลวง และวัดราษฎร์ก็ยังคงเน้นความสำคัญของ พระธาตุเจดีย์หรือวิหารเป็นหลัก ซึ่งหมายถึง การให้ความสำคัญต่อพระพุทธเจ้ามากกว่าพระธรรมและพระสงฆ์

References

กรกนก รัตนวราภรณ์. (2545). “จักรวาลคติในการวางผังวัดหลวงล้านนา: สัญลักษณ์สะท้อนอำนาจรัฐในอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงพุทธศตวรรษที่ 21”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โชติ กัลยาณมิตร. (2521). ไตรภูมิในพุทธศาสนากับสถาปัตยกรรมไทย: คำสอนเชิงวิเคราะห์แม่แบบสถาปัตยกรรมไทย. [เอกสารอัดสำเนา].ม.ป.ท.:ม.ป.พ.

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พิมพ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เนื่องในงานมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม 2535. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ล้านนาคดีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คติจักรวาลกับโลกทัศน์ของคนล้านนา. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2560, แหล่งที่มา lannakadee.cmu.ac.th>area2>page1

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. (2558). “การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดและหลักธรรมสำคัญในอัคคัญญสูตร”. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิโรจน์ อินทนนท์. (2559). ความคิดล้านนา. ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01