การแก้ปัญหาความยากจนเชิงพุทธ : กรณีศึกษาชุมชนเกษตรกรรมตามศาสตร์พระราชา

ผู้แต่ง

  • บัวสวรรค์ จันทร์พันดาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • เทพประวิณ จันทร์แรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สยาม ราชวัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การแก้ปัญหาความยากจนเชิงพุทธ, ชุมชนเกษตรกรรม, ศาสตร์พระราชา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีในการแก้ปัญหาความยากจน  2) เพื่อศึกษากระบวนการแก้ปัญหาความยากจนของชุมชนเกษตรกรรมตามศาสตร์พระราชา 3) เพื่อวิเคราะห์การแก้ปัญหาความยากจนเชิงพุทธของชุมชนเกษตรกรรมตามศาสตร์พระราชา  การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม จากชุมชุนเกษตรกรรมภายใต้การดำเนินงานของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9

ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดและทฤษฎีในการแก้ปัญหาความยากจน ประกอบด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กับการลดความเหลื่อมล้ำ แนวคิดพุทธเศรษฐศาสตร์ และการพึ่งตนเองด้วยสัมมาชีพ 2) กระบวนการแก้ปัญหาความยากจนของชุมชนเกษตรกรรมตามศาสตร์พระราชา เกิดจากการประยุกต์ใช้หลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ใน 3 ประการคือ (1) การทำความเข้าใจภูมิสังคมของตนเอง (เข้าใจ) (2) การวิเคราะห์ชุมชนของตนเอง (เข้าถึง)
(3) การพัฒนาแก้ไขความยากจนของตนเอง (พัฒนา) 3) การแก้ปัญหาความยากจนเชิงพุทธของชุมชนเกษตรกรรมตามศาสตร์พระราชา เกิดจากการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น หลักอริยสัจ 4 ในการทำความเข้าใจสาเหตุของความยากจน หลักสันโดษ 3 ในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 บูรณาการกับการใช้ทฤษฎีบันได 9 ขั้น ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิมั่นพัฒนา. (2561). คู่มือแห่งการทำธุรกิจยุคใหม่ที่ใส่ใจความยั่งยืน : ธุรกิจการเกษตรกับความยั่งยืน. Agribusiness. กรุงเทพมหานคร: มปพ.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ. (2558). การสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดความสุขของประชาชนตามหลักคําสอนของพระพุทธศาสนา. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ปฺ อฺ ปยุตฺโต). (2559). แนวคิดสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์.

พระอธิการทัศเทพ ฐานกโร. (2559). พุทธธรรมกับการแก้ปัญหาความยากจนในสังคมไทย. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 1(3), 68.

ไพโชค ปัญจะ. การสร้างชุมชนต้นแบบของการเรียนรู้. วารสารธรรมศาสตร์. 32(3), 204-214.

ปรีชา ปาโนรัมย์ และคณะ. (2552). การพัฒนารูปแบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจน กรณีศึกษาบ้านโคกใหญ่ หมู่ 9 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัย มข. 14(8), 724.

สมพันธ์ เตชะอธิก, ธนาคาร ผินสู่ และจุติมาพร พลพงษ์. (2560). คู่มือแก้ไขปัญหาความยากจน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สนับสนุนการโดยมูลนิธิมั่นพัฒนา: หจก.ขอนแก่นการพิมพ์.

หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ, (18 กันยายน, 2562). ข้อมูลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ - สำนักงาน กปร. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.rdpb.go.th/rdpb/projectData/index.htm. [1/7/2019].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01