คตินิยมปฏิบัติในการกำหนดรูปแบบจัดวางผังตารางฐานภายใน พระเจดีย์จากคัมภีร์โบราณล้านนา

ผู้แต่ง

  • พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ (ธรรมวัฒน์ศิริ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • เยื้อง ปั้นเหน่งเพชร์
  • พิรภานุวัตณ์ ชื่นวงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • จันทรัสม์ ตาปูลิง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธาวิษ ถนอมจิตศ์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

คตินิยมปฏิบัติ, จัดวางผังตาราง, องค์พระเจดีย์, คัมภีร์โบราณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาคตินิยมการสร้างพระเจดีย์จากคัมภีร์โบราณที่เกี่ยวกับการสร้างพระเจดีย์ในล้านนา 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบคตินิยมปฏิบัติในการกำหนดตารางการวางแผนผังฐานรากและพุทธธรรมที่เกี่ยวกับองค์ประกอบที่บรรจุในตารางภายในพระเจดีย์ล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์

ผลการศึกษาพบว่า

1) การสร้างเจดีย์ในล้านนาสืบทอดคติมาจากการสร้างสถูปในอินเดียสมัยพุทธกาลแล้วพัฒนาการมาสู่การสร้างเจดีย์หลังพุทธกาล จากนั้นมีการเผยแพร่เข้าสู่ล้านนาผ่านอาณาจักรทวารวดี ลังกา และพม่า คัมภีร์พับสาล้านนาระบุถึงคตินิยมในการทำตารางแผนผังฐานรากของพระเจดีย์ สำหรับบรรจุวัตถุมงคลไว้อย่างเป็นแบบแผน เช่น พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูป สิ่งของมีค่า เป็นต้น โดยจัดทำตารางแผนผัง 2 อย่าง ได้แก่ (1) ตาราง 9 ช่อง สำหรับพิธีบรรจุแบบทั่วไป  (2) ตาราง  25 ช่อง สำหรับบรรจุแบบพิสดาร

2) ตารางแผนผังฐานรากฐานของพระเจดีย์ในล้านนามีพัฒนาการมาจากคติในพระไตรปิฎก ต่อมาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างพระเจดีย์แล้วส่งทอดรูปแบบสู่ลังกาซึ่งมีการสร้างแผนผังฐานรากฐานของพระเจดีย์ตามคติสัตตมหาสถานในอุโมงค์โถงใต้เจดีย์แล้วส่งอิทธิพลมาสู่พม่าและเข้าสู่ล้านนาทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่วนคติธรรมที่เป็นองค์ประกอบที่บรรจุในตารางแผนผังของพระเจดีย์มีลักษณะและความสำคัญ 2 อย่าง ได้แก่ (1) คติธรรมในการบรรจุแบบสัตตมหาสถาน  (2) คติธรรมในการบรรจุแบบปัจจัย 24 ประการ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่โพธิบัลลังก์คือการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ

References

พระพงษ์ระวี อุตฺตรภทฺโท และคณะ. (2562). การสถาปนาเจดีย์ในล้านนาภายใต้คติมหาโพธิมณฑล. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. 11(1), 161-162.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

พระมหาคําสิงห์ สีหนนฺโท (กองเกิด). (2556). ศึกษาเรื่องเจดีย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฎฐา ฤทธิศร (2541). การศึกษาพัฒนาการของเจดีย์ล้านนา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2544). ตำนานพระพุทธเจดีย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ บรรณาคาร.

สันติ เล็กสุขุม. (2540). เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

สุรพล ดำริห์กุล. (2560). คติพระธาตุเจดีย์ในดินแดนล้านนา. วารสารข่วงพญา. 12(1), 40.

โสภณ จาเลิศ. (2560). การวิเคราะห์ความเชื่อและการบูชาเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาท. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เอเดรียน สนอดกราส. (2537). สัญลักษณ์แห่งพระสถูป. แปลโดย ภัทรพร สิริกาญจน และ คณะ.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31