การส่งเสริมและอนุรักษ์การสร้างสรรค์ศิลปะของวัด และชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนา
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, การอนุรักษ์, การสร้างสรรค์ศิลปะบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ในการพัฒนาวัดและชุมชนเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์การสร้างสรรค์ศิลปะในกลุ่มจังหวัดล้านนา 2) เพื่อพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมและอนุรักษ์การสร้างสรรค์ศิลปะของวัดและชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนาและ 3) เพื่อการอนุรักษ์ศิลปกรรมและการสร้างสรรค์ศิลปะของวัดในกลุ่มจังหวัดล้านนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ความรู้ในการพัฒนาวัดและชุมชนเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์การสร้างสรรค์ศิลปะในกลุ่มจังหวัดล้านนา โดยรวมพบว่ามีลักษณะและรูปแบบในการส่งเสริมและอนุรักษ์การสร้างสรรค์ศิลปะของชุมชนกรณีศึกษาทั้ง 8 แห่ง มีบริบทหรือทุนทางสังคมวัฒนธรรมแตกต่างกัน มีจุดอ่อนจุดแข็ง มีข้อจำกัดหรือโอกาสในการพัฒนาแตกต่างกันไป 2) การพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมและอนุรักษ์การสร้างสรรค์ศิลปะของวัดและชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนา โดยกิจกรรมการพัฒนาและสร้างพื้นที่ส่งเสริมและอนุรักษ์ การสร้างสรรค์ศิลปะของวัดและชุมชน ทั้ง 8 แห่ง ในกลุ่มจังหวัดล้านนา 3) เพื่อการอนุรักษ์ศิลปกรรม และการสร้างสรรค์ศิลปะของวัดในกลุ่มจังหวัดล้านนาที่ได้รับการจัดการที่เหมาะสมพบว่าการอนุรักษ์ และส่งเสริมศิลปะในจังหวัดล้านนานั้น มีการส่งเสริมและอนุรักษ์และการสร้างสรรค์ศิลปะของวัดและชุมชนในแต่ละจังหวัดในกลุ่มจังหวัดล้านนาแตกต่างกันไปตามบริบทของชุมชน
ในแต่ละพื้นที่ และขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมของชุมชน ลักษณะทางกายภาพของชุมชน และความแตกต่างของประชากรในชุมชน
References
กาญจนา เกียรติมณีรัตน์. (2546). ภูมิปัญญาในการทอผ้าพื้นเมืองภาคเหนือ: รูปแบบการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ของครูภูมิปัญญาไทย.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จารุจน์ กลิ่นดีปลี. (2541). การประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษา: อุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มานิตย์ กันทะสัก. (2559). ขัวศิลปะ : กระบวนการสร้างเครือข่าย เพื่อการเปลี่ยนแปลงพลังทางสังคมด้วยศิลปะ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์.
วิภา ศรีระทุ. การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ม.ป.ท.)
วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2550). ศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. (ม.ป.ท.)
สถาบันพระปกเกล้า. ( 2553). บันทึกเรื่องเด่น : รางวัลพระปกเกล้า 2552 ด้านความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทจรัญสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.
สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2548). กระบวนการโบราณคดีชุมชน การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2548). คู่มือการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร. คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2546). คู่มือคำอธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.