การวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการนิเทศตามศาสตร์พระราชา บนฐานการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม สำหรับครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4

ผู้แต่ง

  • ฉวีวรรณ ไชยพิเศษ

คำสำคัญ:

การนิเทศ, ศาสตร์พระราชา, การจัดการเรียนรู้, โครงงานคุณธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม และความต้องการได้รับการนิเทศของครูในสถานศึกษา 2) สร้างและพัฒนากระบวนการนิเทศตามศาสตร์พระราชา บนฐานการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม สำหรับครูในสถานศึกษา และ 3) ประเมินผลการใช้กระบวนการนิเทศตามศาสตร์พระราชา บนฐานการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม สำหรับครูในสถานศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 จำนวน 974 คน และผู้เรียนจำนวน 15,448 คน โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 79 คน และผู้เรียนจำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบประเมิน แบบวัดความรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t- test)

            ผลการศึกษา พบว่า

  1. ผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม และความต้องการได้รับการนิเทศของครู พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม โดยต้องการให้ศึกษานิเทศก์มานิเทศ แนะนำ ช่วยเหลือครูอย่างเป็นกัลยาณมิตร
  2. ผลการสร้างและพัฒนากระบวนการนิเทศตามศาสตร์พระราชา สรุปเป็นกระบวนการนิเทศ 7 ขั้น ได้แก่ 1) เข้าใจปัญหา (Understanding) 2) ศึกษาแนวทาง (Planning) 3) สร้างความตระหนักรู้ (Awareness) 4) ร่วมมือพัฒนา (Participation) 5) นิเทศ นำพาปฏิบัติ (Coaching and Mentoring) 6) ประเมินผลและรายงานผล (Evaluation and Report) และ 7) เผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Providing and Sharing)
  3. ผลการใช้กระบวนการนิเทศตามศาสตร์พระราชา ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม มีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรมสูงขึ้น มีความพึงพอใจต่อการนิเทศอยู่ในระดับมาก ผู้เรียนมีความสามารถในการทำโครงงานคุณธรรมในระดับดีมาก และผู้เรียนมีคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ในระดับมาก

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม และความต้องการได้รับการนิเทศของครูในสถานศึกษา 2) สร้างและพัฒนากระบวนการนิเทศตามศาสตร์พระราชา บนฐานการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรมสำหรับครูในสถานศึกษาและ 3) ประเมินผลการนำกระบวนการนิเทศตามศาสตร์พระราชา บนฐานการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรมสำหรับครูในสถานศึกษาไปใช้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 จำนวน 974 คน และผู้เรียนจำนวน 15,448 คน โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 79 คน และผู้เรียนจำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบประเมิน แบบวัดความรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t- test)

            ผลการศึกษา พบว่า

  1. ผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม และความต้องการได้รับการนิเทศของครู พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม โดยต้องการให้ศึกษานิเทศก์มานิเทศ แนะนำ ช่วยเหลือครูอย่างเป็นกัลยาณมิตร
  2. ผลการสร้างและพัฒนากระบวนการนิเทศตามศาสตร์พระราชา สรุปเป็นกระบวนการนิเทศ 7 ขั้น ได้แก่ 1) เข้าใจปัญหา (Understanding) 2) ศึกษาแนวทาง (Planning) 3) สร้างความตระหนักรู้ (Awareness) 4) ร่วมมือพัฒนา (Participation) 5) นิเทศ นำพาปฏิบัติ (Coaching and Mentoring) 6) ประเมินผลและรายงานผล (Evaluation and Report) และ 7) เผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Providing and Sharing)
  3. ผลการใช้กระบวนการนิเทศตามศาสตร์พระราชา ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม มีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรมสูงขึ้น มีความพึงพอใจต่อการนิเทศอยู่ในระดับมาก ผู้เรียนมีความสามารถในการทำโครงงานคุณธรรมในระดับดีมาก และผู้เรียนมีคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ในระดับมาก

References

กลุ่มนโยบายและแผน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4. (2561). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4. เอกสารที่ 1/2561.กลุ่มนโยบายและแผน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมกิจการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ฉวีวรรณ ไชยพิเศษ. (2560). รายงานผลการนิเทศติดตามการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 โดยใช้บันได 5 ขั้น สร้างสรรค์สู่ความดี. เอกสารอัดสำเนา. กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นทคี่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4.

ณัฐกฤษฏ์ ภูฆัง. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้บูรณา

การหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของครูโรงเรียนเขาใหญ่พิทยาคม. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรศักดิ์ สงเดช. (2562). กระบวนการนิเทศภายใน โดยใช้ศาสตร์พระราชา เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนอุบลรัตน์ราชกัญญาราชวิทยาลัย พัทลุง.

พิมพ์พันธ์ เดชคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2562). สร้างนวัตกรรมบนฐานการวิจัย PLC&Logbook. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิลา สงอาจินต์ และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครตรัง. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์. บัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2559). คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2561). โครงการสำรวจสถานการณ์คุณธรรมจริยธรรมของสังคมไทย ปี 2561. กรุงเทพมหานคร: (มปท.).

สุพจน์ ดำริ. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับครูโรงเรียนดงรักวิทยา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2561. http://www.nakaew.ac.th/news-detail_33558.

Panich, W. (2012). 21st Century Skills. Bangkok : Sodsri Saritwong Foundation. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30