การพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวพุทธศาสตร์ ของวัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวงอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระณัฐวัฒน์ กลฺยาณวฑฺฒนเมธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต, พุทธศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้  1) เพื่อศึกษาพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวพุทธศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาบริบทการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตของวัดพระธาตุดอยสะเก็ดพระอารามหลวง และ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวพุทธศาสตร์ของวัดพระธาตุดอยสะเก็ดพระอารามหลวง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูป/คน ทำการวิเคราะห์โดยเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาตลอดชีวิตเป็น กระบวนการ รูปแบบหรือโครงสร้าง หมายความถึงการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ การศึกษาตลอดชีวิตนั้นจะไม่น่าจะสามารถปฏิบัติได้ แต่ปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวมีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นการจัดการศึกษาให้เป็นระบบการศึกษาตลอดชีวิต หรือส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) บริบทการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตของวัดพระธาตุดอยสะเก็ด พบว่า ได้มีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวพุทธศาสตร์มาเป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยได้มีการกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกช่วงวัยตามแนวพุทธศาสตร์อยู่เสมอ 3) การพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวพุทธศาสตร์ของวัดพระธาตุดอยสะเก็ด พบว่าผู้นำสามารถพัฒนาวัดให้กลายมาเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของทุกช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ เนื่องมาจากวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของพระราชโพธิวรคุณ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ดพระอารามหลวง   ซึ่งท่านได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ทั้งยังให้ถึงคุณค่าแห่งการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

References

กรมวิชาการ. (2545). การจัดสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

จิรานุช วงศ์อุทัย. (2542). บทบาทพระสงฆ์ในการสงเคราะห์ชุมชน ปัญหาโรคเอดส์ กรณีศึกษาพระครูโสภณปริยัติสุธี วัดดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดุษณี ดำมี. (2557). การศึกษาตลอดชีวิต : พัฒนาสังคมไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้. รายงานวิจัย. สถาบันพัฒนา: บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.

ประเสริฐ บุญเรือง. (2555). การจัดการศึกษาตลอดชีวิต. วารสาร กศน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นำทองการพิมพ์ จำกัด. (อัดสำเนา).

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง :กระบวนการเรียนรู้เพื่อ.

พนอม แก้วกำเนิด. (2533). หลักการของหลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), (2551). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มานิตย์ ซาซิโย. (2555). รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนหลายวัยในศูนย์ตุ้มโฮมลูกหลานบ้านเหล่าลิง. วารสาร มข. 2(3), 283-297.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สุมาลี สังข์ศรี.(2556). แนวทางการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 6(2), 33-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30