การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องสิทธิของโทมัส ฮอบส์ กับจอห์น ล็อค

ผู้แต่ง

  • พระวรวัชรินทร์ สิริภทฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ศึกษาเปรียบเทียบ, สิทธิ, โทมัส ฮอบส์, จอห์น ล็อค

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนตามหลักสากล 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสิทธิในทรรศนะของโทมัส ฮอบส์ กับจอห์น ล็อค และ 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของแนวคิดเรื่องสิทธิระหว่างโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค
เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายงานผลการวิจัยด้วยการพรรณนา  ผลการวิจัยพบว่า

1)  แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนสากล ได้รับการรับรองและคุ้มครองในช่วงศตวรรษที่ 18 องค์การสหประชาชาติ ได้จัดตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945  ต่อมา ได้ร่วมมือกันจัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และประกาศใช้ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 เนื้อหาของปฏิญญาฯ มีบัญญัติไว้ 30 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) สิทธิทางแพ่งและทางการเมือง (2) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

2) ด้านแนวคิดเรื่องสิทธิ ทั้งฮอบส์และล็อค ได้เสนอแนวคิดเรื่องสิทธิทางธรรมชาติเอาไว้โดย
ฮอบส์มองว่า มนุษย์ต้องยอมสละสิทธิธรรมชาติทั้งหมดที่มีให้กับรัฐ ส่วนล็อคมองว่า มนุษย์ไม่ได้สละสิทธิทั้งหมดให้กับรัฐ แต่ให้เพียงสิทธิเสรีภาพบางส่วนเท่านั้น

3)  เมื่อเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องสิทธิระหว่าง ฮอบส์และล็อค พบว่า ทั้งสองคนต่างให้ความสำคัญในเรื่องของปัจเจกบุคคลเหมือนกัน แต่มีทัศนะมุมมองในเรื่องการทำสัญญาประชาคม เพื่อสละอำนาจและสิทธิทางธรรมชาติของตนให้กับรัฐต่างกัน โดยฮอบส์มองว่า เราควรสละสิทธิของเราให้รัฐทั้งหมด ในขณะที่ล็อคมองว่า เราควรสละสิทธิที่สำคัญบางประการเท่านั้น

References

กวี อิศริวรรณ. (2528). ความคิดทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สยามบรรณการ.

คณะกรรมการประสานงานองค์กรสิทธิมนุษยชน (กปส.). (2544). กลไกคุ้มครองสิทธิมนุษญชนตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES).

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ประยุตฺโต). (2535). การสร้างสรรค์ประชาธิปไตยกรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหามหรรถพงศ์ กวิวํโว (ศรีสุเมธิตานนท์). (2548). “การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่องสิทธิของจอห์น ล็อค กับพุทธปรัชญาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทย์ วิศทเวย์. (2532). จริยศาสตร์เบื้องต้น มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

เสถียร หอมขจรและคณะ. (2528). ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เสน่ห์ จามริก (แปล). (2515). ความคิดทางการเมือง จากเพลโตถึงปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสน่ห์ จามริก. (2545). พุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2550). สิทธิมนุษยชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

Thomas Hobbes. (1968). Leviathan. Middlesex: Penguin Books Ltd.,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30