คุณค่าของจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

ผู้แต่ง

  • พระณัฐพงษ์ สิริภทฺทจารี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ลิปิกร มาแก้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ:

คุณค่าของจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ, วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของจิตรกรรมฝาผนังในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และ  3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของงานจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ  ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ทำการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอด้วยการพรรณนา 

ผลการวิจัยพบว่า 1) จิตรกรรมฝาผนังเชิงพุทธที่เก่าแก่ที่สุดในโลกพบในถ้ำอชันตา ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางเทือกเขาในบริเวณฝั่งตะวันตกของที่ราบสูงเดกกัน ประเทศอินเดีย เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 3-7 เรื่องราวที่เขียนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พุทธประวัติ และชาดกต่าง ๆ เขียนได้อย่างงดงามมีชีวิตชีวาด้วยวิธีการเขียนแบบสีปูนเปียก ถือเป็นแบบอย่างที่ก่อให้เกิดศิลปกรรมทวารวดี
2) ในงานจิตกรรมฝาผนังวิหารลายคำ การเขียนภาพใช้พื้นที่ของผนังทุกด้าน ยกเว้นผนังด้านหลังพระประธาน ซึ่งทำเป็นการปิดทองลงลายที่รับอิทธิพลแบบจีน เรื่องที่เขียนเป็นเรื่องสังข์ทอง และสุวรรณหงส์ โดยเรื่องสังข์ทองจะเขียนผนังด้านซ้ายมือของพระประธาน และเรื่องสุวรรณหงส์จะเขียนบนผนังขวามือของพระประธาน 3) งานจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร มีคุณค่า 6 ประการ ได้แก่ (1) คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ (2) คุณค่าด้านศิลปกรรม (3) คุณค่าด้านคติธรรม (4) คุณค่าด้านความงาม (5) คุณค่าด้านวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา และ (6) คุณค่าต่อสังคม วัฒนธรรม ศิลปะ และประเพณี

References

Ritt Vicharath. (2551). วิถีล้านนาที่วัดพระสิงห์ Art for life. ม.ป.ป.

กรมศิลปากร. (2533). การดูแลรักษาศิลปะโบราณวัตถุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จักรพงษ์ คำบุญเรือง. (6 มีนาคม 2560). จิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำวัดพระสิงห์. เชียงใหม่นิวส์, สืบคืนเมื่อ (20 ตุลาคม 2564) แหล่งที่มา: http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/464788.

ชาญวิทย์ สุขพร. (2547). พิพิธภัณฑ์ภาพจิตรกรรมฝาผนังไทย. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส และกรรณิการ์ ตั้งตุลานนท์. (2556). คุณค่าและความสำคัญของจิตรกรรมฝาผนังของอุโบสถกลางน้ำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: รพีปกรณ์ จำกัด.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). ไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทรรศนันท์ ชินศิริพันธ์. (2547). การศึกษาสภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดทองธรรมชาติวรวิหาร ภายหลังการอนุรักษ์. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต. ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เนตรนภา แก้วแสงธรร. (2551). การศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวจังหวัดอุบลราชธานี: ศึกษาเฉพาะกรณีวัดทุ่งศรีเมือง วัดบ้านนาควาย และวัดหนองมะนาว. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สันติ เล็กสุขุม. (2533). จิตรกรรมแบบประเพณีและแบบสากล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวิภา จำปาวัลย์ และชัปนะ ปิ่นเงิ. (2553). การศึกษาพุทธสัญลักษณ์ล้านน. รายงานการวิจัย สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01