การเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม ของอีสานใต้กับประชาคมอาเซียน

ผู้แต่ง

  • ชายชาญ วงศ์ภักดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • บรรจง โสดาดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ธนู ศรีทอง มจร วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูโสภณธรรมาภิมณฑ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ชูชัย ประดับสุข มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • สถาพร ภาคพรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พิสุทธิ์พงศ์ เอ็นดู มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างเครือข่าย, การท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม, อีสานใต้, ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพของเครือข่ายการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของอีสานใต้กับประชาคมอาเซียน 2) เพื่อศึกษาแนวทางเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของอีสานใต้กับประชาคมอาเซียน 3)  เพื่อศึกษาวิเคราะห์การเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของอีสานใต้กับประชาคมอาเซียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า  1) สภาพเครือข่ายการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของอีสานใต้กับประชาคมอาเซียน พบว่า มี 3 ระดับ คือ (1) ระดับอาเซียนได้แก่ รัฐบาล (2) ระดับพื้นที่ ได้แก่ ภูมิภาค และ (3) ระดับชุมชน ได้แก่ จังหวัด 2) แนวทางเสริมสร้างการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของอีสานใต้กับประชาคมอาเซียน พบว่า (1) รัฐควรผลักดันแผนหรือนโยบายสู่ภาคปฏิบัติ (2) จังหวัดควรเป็นแกนกลางสร้างเครือข่าย (3)
รัฐควรสนับสนุนชมรมการท่องเที่ยวอีสานใต้ให้พัฒนาบุคลากรทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ (4) จังหวัดควรส่งเสริมความรู้ด้านการท่องเที่ยวให้แก่พระสงฆ์และผู้นำชุมชน (5) รัฐควรส่งเสริมแนวทางการบริหารจัดการ 3) ผลการวิเคราะห์สภาพของเครือข่ายการท่องเที่ยวระดับเชิงโครงสร้างหน้าที่ มีสภาพอยู่ในระดับนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ ระดับเชิงพื้นที่ มีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันในภาคประชาชนมากกว่าภาครัฐและเอกชน ส่งผลต่อระดับเชิงกิจกรรม ในด้านการรวมตัวกัน การเรียนรู้ประสบการณ์ คุณภาพการบริการ การพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการ และการใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวร่วมกัน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรสร้างความตื่นรู้และนำแนวทางเครือข่ายการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จมาเป็นแม่บทให้แก่ชุมชน

 

References

กรมศิลปกร. (2550). ประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรมศิลปกร กระทรวงวัฒนธรรม.

กรรณิกา คำดี. (2558). วัดและศาสนสถานในมิติของการท่องเที่ยว. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4 (2), 31-32.

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และ ศรินยา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. บทความนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ “มนุษยศาสตร์ในทศวรรษใหม่: พลวัตแห่งองค์ความรู้กับพหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม” วันที่ 18-19 สิงหาคม 2554 ณ อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ.. (2547). เครือข่าย : ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: พิศิษฐ์ไทย ออฟเซต.

ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. (2546). แอ่งอารยธรรมอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

สายชล ปัญญชิต และภูเบศ วณิชชานนท์. (2558). การท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของภาคใต้ : การพัฒนาเส้นทางและผลกระทบ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18 (18), 257.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (8 มีนาคม 2561). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2561- 2565. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564 https://secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt

/secretary/news_view.php?nid=1481

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30