แนวทางปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพิงค์ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
แนวทางปฏิบัติหน้าที่, หลักอิทธิบาท 4, พยาบาลห้องผ่าตัด,โรงพยาบาลนครพิงค์บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพิงค์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพิงค์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพิงค์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายเป็นพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 17 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า:
- 1. การปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพิงค์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กระบวนการพยาบาลด้านการส่งเสริม การป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟู ตามมาตรฐานวิชาชีพ ด้วยการรักษาสิทธิผู้ป่วย โดยยึดหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ การปฏิบัติการพยาบาลและผดุงครรภ์ มีการพัฒนาคุณภาพ โดยยึดหลักผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีการวางแผนร่วมกับทีมสุขภาพ ด้วยความรัก ความสามัคคี มีเมตตา ให้อภัย และมุ่งเน้นประโยชน์ของผู้ป่วย มีการบันทึกและรายงานการพยาบาลและผดุงครรภ์ อย่างครบถ้วนตามมาตรฐานวิชาชีพ
- 2. การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของพยาบาลห้องผ่าตัด มีการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรัก ความพอใจ ภาคภูมิใจในวิชาชีพ ด้วยความขยันไม่ย่อท้อ เอาใจใส่ มีจิตจดจ่ออยู่กับภารกิจนั้นๆ ด้วยความมุ่งมั่น ใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์อย่างรอบคอบและแยบยล
- 3. แนวทางปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของพยาบาลห้องผ่าตัด ควรมีความรักความศรัทธา ความภาคภูมิใจในวิชาชีพ มีความขยันในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ ไม่ย่อท้อ มีการทบทวนและตรวจสอบภารกิจอย่างจดจ่อ รอบคอบ ด้วยความมุ่งมั่นอย่างมีสติ โดยใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองก่อนการปฏิบัติหน้าที่ ขณะปฏิบัติหน้าที่ และหลังปฏิบัติหน้าที่อย่างบูรณาการ
คำสำคัญ : แนวทางปฏิบัติหน้าที่, หลักอิทธิบาท 4, พยาบาลห้องผ่าตัด,โรงพยาบาลนครพิงค์
References
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงาน โรงพยาบาลนครพิงค์. (2560). การผ่าตัดผู้ป่วยด้านออร์โธปิดิกส์. เชียงใหม่ : กลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงาน.
จันทกาญจน์ นกแก้ว. (2550). การปฏิบัติงานตามบทบาทของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหิดล.
พัชราพร วีรสิทธิ์. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของบุคลิกภาพและความสามารถในการเผชิญปัญหาและอุปสรรคตามหลักอิทธิบาท 4 ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานประกันสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
ว.วชิรเมธี. (2550). ศิลปแห่งการทำงานอย่างมีความสุขคนสำราญงานสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
อัญชลี โมกขาว. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลเจตคติต่อวิชาชีพและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงกับความตั้งใจกระทำพฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลของรัฐ วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณทิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Beatrice L. Rowland. (1997). Nursing Administration Hand Book fourth Edition. Marylan; Aspen Publishers Inc.
Dennis W. Organ, Thomas S. Bateman. (1986). Organizational Behavior: An Applied Psychological Approach. Michigan : Business Publications, Howard S. Rowland.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.