ตัวบ่งชี้การบริหารจัดการวิทยาเขต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สู่ความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • ราตรี วงศ์เครา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้, การบริหารจัดการวิทยาเข, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสังเคราะห์ตัวบ่งชี้การบริหารจัดการวิทยาเขต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนา 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของตัวบ่งชี้การบริหารจัดการวิทยาเขต มหาวิทยาลัย  มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนากับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยการวิเคราะองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ

ผลการวิจัยพบว่าการบริหารจัดการวิทยาเขต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนามี 5 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) การบริหารจัดการเชิง พุทธวิธีผสานการบริหารจัดการแนวใหม่  4 ตัวบ่งชี้   2) ภาวะผู้นำเชิงพุทธที่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง 3 ตัวบ่งชี้ 3) วัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธ 2 ตัวบ่งชี้  4) เทคโนโลยีสารสนเทศและสิ่งสนับสนุน 2 ตัวบ่งชี้ และ 5) เครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนา 2 ตัวบ่งชี้  ตัวบ่งชี้ที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับสูง

References

ชวลิต ขอดศิริ. (2559). การพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ด้วยหลักพุทธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น. 10(3). 200-214.

ทิศนา แขมณี. (2555). บัณฑิตศึกษาในศตวรรษที่ 21: การปรับหลักสูตรและการสอน. เอกสารอัดสำเนา.

พระมหาสหัส ดำคุ้ม. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีประสิทธิผล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 6(1). 177-187.

พระเทพปริยัติเมธี. (2553). ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุลาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์.

พระเมธาวินัยรส และคณะ. (2562). การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อประชาคมอาเซียน. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. 4(2). 54-71.

นพดณ ปัญญาวีรทัต และคณะ (2561). การพัฒนาการจัดการความรู้เชิงพุทธเพื่อการบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 7(4). 52-64.

ประเสริฐ ปอนถิ่น และคณะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของวิทยาเขตสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 1(3). 169-184.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.

สุทธิพร สายทอง และคณะ. (2559). พุทธวิธีการจัดการความรู้สู่การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์ในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 5(2). 85-96.

แสงอาทิตย์ ไทยมิตร. (2558). การใช้พุทธวิธีการบริหารกับจริยธรรมภาวะผู้นำเชิงพุทธในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 3(2). 13-24.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี 2561-2580. แหล่งที่มา

http://www.mua.go.th/users/bpp/main/download/plan/plan20yrs.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. แหล่งที่มา

http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf

อานนท์ เมธีวรฉัตร. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารของวิทยาลัยสงฆ์ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

อัจฉรา ปิยวิทยชาติ และคณะ. (2560). รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรเพื่อความเป็นเลิศทางพุทธจริยธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6(2). 255-268.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30